วันที่ 16-24 กรกฎาคม 2563 เจ้าหน้าที่งานปะการัง กลุ่มนิเวศทางทะเล ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอ่าวไทยตอนกลาง (ศวทก.) เดินทางไปราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี เพื่อสำรวจสถานภาพทรัพยากรปะการัง จำนวน 12 สถานี ได้แก่ เกาะเต่า (อ่าวหาดทรายรี), เกาะเต่า (อ่าวแม่หาด), เกาะเต่า (อ่าวโฉลกบ้านเก่า),เกาะเต่า (อ่าวเทียน), เกาะเต่า (อ่าวโตนด), เกาะเต่า (อ่าวลึก),เกาะเต่า (อ่าวหินวง), เกาะเต่า (อ่าวแหลมเทียน), เกาะเต่า (อ่าวกล้วยเถื่อน), เกาะนางยวนด้านเหนือ,หางเต่าด้านตะวันออก และเกาะกงทรายแดง โดยวิธีดำน้ำลึก Line-Intercept Transect ผลการสำรวจเบื้องต้นพบว่าน้ำทะเลลึกประมาณ 4-8 เมตร อุณหภูมิน้ำประมาณ 30 องศาเซลเซียส ทัศนวิสัยใต้น้ำประมาณ 5-15 เมตร ปะการังกลุ่มเด่น ได้แก่ ปะการังโขด (Porites lutea) ปะการังเขากวาง (Acropora spp.) ปะการังสมองร่องยาว(Platygyra sp.) ปะการังดอกกะหล่ำ (Pocillopora damicornis) ปะการังช่องเล็ก (Montipora sp.) ปะการังลายดอกไม้ (Pavona sp.) ปะการังวงแหวน (Favia sp.) ปะการังสมองใหญ่ (Symphyllia sp.) ปะการังกาแล็คซี่ (Galaxea sp.) และปะการังเห็ด (Fungia sp.) ส่วนสัตว์ในแนวปะการังที่พบส่วนใหญ่ได้แก่ เม่นดำหนามยาว(Diadema setosum) ทากเปลือยโจรันนา (Jorunna funebris) โรคปะการัง เช่น โรคจุดชมพู ปลาที่พบในแนวปะการัง ได้แก่ ปลาสลิดหินหางขลิบดำ (Chromis ternatensis) ปลาสลิดหินหางพลิ้วธรรมดา (Neopomacentrus cyanomos) และปลาสลิดหินเล็กหางขลิบดำ (Neopomacentrus filamentosus)