วันที่ 3 -10 มี.ค 2568 ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอ่าวไทยฝั่งตะวันออก ทำการสำรวจระบบนิเวศแนวปะการัง บริเวณหมู่เกาะล้านและหมู่เกาะไผ่ จ.ชลบุรี เบื้องต้นพบว่าแนวปะการังอยู่ในสภาพเสียหายถึงสมบูรณ์ดีมาก ปะการังมีร่องรอยความเสียหายจากปะการังฟอกขาวเมื่อปีที่ผ่านมาในระดับต่ำ พบตัวอ่อนปะการังค่อนข้างมาก ในสถานีเกาะมารวิชัย และเกาะล้าน (หาดเกเร) ชนิดเด่นที่พบ ได้แก่ ปะการังโขด (Porites spp.) และปะการังม้าลาย (Oulastrea crispata) อาการผิดปกติที่พบในปะการัง คือ เนื้อเยื่อเปลี่ยนสีและมีการทับถมของตะกอนในบางส่วนของโคโลนี สิ่งมีชีวิตเด่น ได้แก่ วงศ์ปลาสลิดหิน (Pomacentridae) วงศ์ปลานกขุนทอง (Labridae) และเม่นดำ (Diadema setosum) ทั้งนี้สถานีที่พบขยะตกค้างในแนวปะการังมาก ได้แก่ เกาะริ้น และเกาะมารวิชัย ส่วนใหญ่เป็นขยะจากกิจกรรมประมงและสันทนาการ ได้แก่ ขวดน้ำพลาสติก กระป๋องเครื่องดื่ม อวน เหยื่อและเอ็นตกปลา