แพลงก์ตอน เป็นสิ่งมีชีวิตขนาดเล็ก มีรูปแบบการดำรงชีวิตโดยการล่องลอยอยู่ในมวลน้ำ อาจเคลื่อนที่ขึ้นลงได้ตามแนวดิ่งของมวลน้ำแต่ไม่สามารถทวนกระแสน้ำได้ ต้องอาศัยการพัดพาของกระแสน้ำและทิศทางของลมเท่านั้น แพลงก์ตอนมีทั้งขนาดที่เล็กมากตั้งแต่ต้องส่องด้วยกล้องจุลทรรศน์ จนถึงขนาดที่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า ทั้งนี้สามารถแบ่งกลุ่มของแพลงก์ตอนออกได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ
ประโยชน์ของแพลงก์ตอน
แพลงก์ตอน เป็นผู้ผลิตเบื้องต้นของห่วงโซ่อาหารในแหล่งน้ำธรรมชาติ และสามารถใช้เป็นตัวชี้ถึงระดับความสมบูรณ์ของแหล่งน้ำ ชนิดและปริมาณของแพลงก์ตอนยังใช้ตรวจสอบมลภาวะของแหล่งน้ำได้ มีการนำแพลงก์ตอนมาใช้ในอุตสาหกรรม โดยอาจใช้ในรูปที่มีชีวิตหรือโดยการสกัดผลผลิตที่เซลล์ผลิตขึ้นมา เช่น ใช้เป็นอาหารเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำวัยอ่อน บางชนิดเป็นอาหารของมนุษย์ และเป็นยารักษาโรค และแพลงก์ตอนยังใช้ในการศึกษาทดลองทางวิทยาศาสตร์ และการเพาะเลี้ยงอีกด้วย
การเก็บข้อมูลในพื้นที่หมู่เกาะกระ ใช้สถานีในทะเล 5 สถานี คือ สถานีที่ 1 บริเวณตะวันตกเฉียงใต้ของเกาะกระใหญ่ด้านที่มีแนวหาดทรายของเกาะ พื้นที่เก็บตัวอย่างอยู่ในเขตแนวปะการัง สถานีที่ 4 บริเวณตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะกระใหญ่ สถานีที่ 10 บริเวณตะวันตกเฉียงใต้เกาะกระใหญ่นอกแนวปะการัง สถานีที่ 11 บริเวณเกาะกลางและเกาะเล็ก และสถานีที่ 12 บริเวณกองหินเรือ โดยทั้งหมดเก็บตัวอย่างในช่วงวันที่ 6 - 8 กันยายน 2550