ระบบนิเวศป่าชายเลน เป็นระบบนิเวศที่อยู่ในแนวเชื่อมต่อ (ecotone) ระหว่างผืนแผ่นดินกับพื้นน้ำทะเลในเขตร้อน (tropical region) และกึ่งร้อน (subtropical region) เป็นระบบที่นำเอาทรัพยากรน้ำ ดิน และแร่ธาตุต่างๆ จากบกและทะเลมาปรุงแต่งให้เป็นแหล่งทรัพยากรที่มีความหลากหลายทางชีวภาพและคุณค่าสูง ขณะเดียวกันระบบนิเวศป่าชายเลนจะทำหน้าที่เป็นป้อมปราการที่คอยปกป้องและรักษาไว้ซึ่งความสมดุลของสิ่งแวดล้อม ให้เอื้ออำนวยต่อการเป็นแหล่งกำเนิดห่วงโซ่อาหาร (food chain) ของมนุษย์ (สถานีวิจัยเพื่อการพัฒนาชายฝั่งอันดามัน, 2562) ขณะเดียวกันระบบนิเวศป่าชายเลนยังทำหน้าที่เป็นปราการ ที่ช่วยในการรักษาสมดุลของสิ่งแวดล้อม ให้เอื้อต่อการเป็นแหล่งกำเนิดห่วงโซ่อาหารของมนุษย์ และทำหน้าที่ช่วยเก็บตะกอนและกลั่นกรองความสกปรกที่มาจากกิจกรรมบนบก และยังมีหน้าที่ช่วยรักษามวลดินและหน้าดินไม่ให้ถูกพัดพาออกจากขอบฝั่งและริมตลิ่ง นอกจากนี้ ระบบนิเวศป่าชายเลน ยังเป็นแหล่งผลิตออกซิเจนและเป็นพื้นที่ที่มีความหลากหลายทางชีวภาพของสิ่งมีชีวิตสูง เหมาะแก่การท่องเที่ยวและศึกษาวิจัย
องค์ประกอบของระบบนิเวศป่าชายเลน
ป่าชายเลนเป็นระบบนิเวศที่ค่อนข้างจะมีลักษณะเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว กล่าวคือ ป่าประเภทนี้ขึ้นอยู่เฉพาะในแถบร้อนและอยู่ตามชายฝั่งทะเลระหว่างบริเวณที่น้ำทะเลขึ้นสูงสุดและลงต่ำสุด องค์ประกอบและกิจกรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้นในระบบนิเวศป่าชายเลนประกอบด้วยส่วนที่เป็นโครงสร้างของระบบนิเวศและส่วนที่เป็นหน้าที่หรือกิจกรรมของระบบนิเวศ ดังนั้น ระบบนิเวศในป่าชายเลนนั้นเป็นความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบ 2 ส่วน คือ
สิ่งไม่มีชีวิต (abiotic component) ได้แก่ ปัจจัยแวดล้อม ประกอบด้วย
สิ่งมีชีวิต (biotic component) ได้แก่ ปัจจัยแวดล้อม ประกอบด้วย
หน้าที่และกิจกรรมของระบบนิเวศป่าชายแลน มี 2 ลักษณะ คือ
1. การหมุนเวียนแร่ธาตุอาหาร (mineral or nutrient cycling in ecosystem)
2. การถ่ายทอดพลังงานในระบบนิเวศป่าชายเลน (energy flow in ecosystem)
ระบบนิเวศป่าชายเลนเป็นระบบนิเวศที่วงจรธาตุอาหารไม่ได้หมุนเวียนอยู่แต่เฉพาะในระบบ แต่มีการนำเข้ามาในระบบและส่งออกไปจากระบบอย่างต่อเนื่อง ซึ่งแตกต่างจากระบบนิเวศป่าอื่นๆ ปัญหาของระบบนิเวศอย่างหนึ่งคือการกำหนดขอบเขตของระบบ โดยปกติแล้วจะกำหนดให้แต่ละระบบนิเวศต้องมีความสม่ำเสมอ ทั้งโครงสร้างและกระบวนการในระบบ ไม่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน ทั้งด้านพื้นที่และเวลา สำหรับระบบนิเวศป่าชายเลน สามารถกำหนดขอบเขตโดยใช้ระบบนิเวศบกและระบบนิเวศมหาสมุทรเป็นแนวเขต
อ้างอิง:
สถานีวิจัยเพื่อการพัฒนาชายฝั่งอันดามัน ศูนย์บริหารงานวิจัยและสนับสนุนวิชาการ คณะประมง. (2562). ระบบนิเวศป่าชายเลน (Mangrove ecosystem). ค้นเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2564, จาก http://andaman.fish.ku.ac.th/?p=816