ป่าชายเลนเป็นพื้นที่รอยต่อระหว่างระบบนิเวศบกและระบบนิเวศทะเล ทำให้มีสัตว์จากทั้งสองระบบนิเวศ ทั้งสัตว์น้ำและสัตว์บกนานาชนิดเข้ามาอาศัย แต่จะมีถิ่นที่อยู่อาศัยแตกต่างกัน ถิ่นที่อยู่ของสัตว์ในป่าชายเลนที่สำคัญ คือ ร่องน้ำและคลอง แอ่งน้ำกึ่งถาวร ผิวดิน ใต้ดิน ลำต้น ระบบราก และเรือนยอด
1. แมลงในป่าชายเลน
ในปี พ.ศ. 2563 กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง โดยกองอนุรักษ์ทรัพยากรป่าชายเลน ส่วนวิจัยทรัพยากรป่าชายเลน ได้ดำเนินการสำรวจความหลากหลายของแมลง ในพื้นที่ป่าชายเลน 10 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดตราด จันทบุรี สมุทรปราการ เพชรบุรี สุราษฏร์ธานี นครศรีธรรมราช พังงา ภูเก็ต กระบี่ และจังหวัดสตูล
ผลการสำรวจพบแมลงจำนวน 14 อันดับ (Order) 113 วงศ์ (Family) 409 ชนิด (Species)
ชื่ออันดับ |
ชื่อกลุ่มแมลง |
ตัวอย่างชนิดแมลง |
---|---|---|
Blattodea |
กลุ่มแมลงสาบ |
แมลงสาบป่า แมลงสาบแกลบอกดำ แมลงสาบเยอรมัน |
Coleoptera |
กลุ่มด้วง |
ด้วงมด ด้วงทหารอกเหลือง ด้วงดิน ด้วงเสือ ด้วงกินใบ ด้วงเต่า ด้วงงวง ด้วงดีด หิ่งห้อย มอดรูเข็ม มอดยาสูบ ด้วงกุหลาบ แมลงนูนดำ ด้วงมูลสัตว์ ด้วงแรดมะพร้าว มอดไม้ ด้วงดอกไม้มันบ้าน ด้วงก้นกระดก มอดแป้ง |
Collembola |
กลุ่มแมลงหางดีด |
แมลงหางดีด |
Dermaptera |
กลุ่มแมลงหางหนีบ |
แมลงหางหนีบ |
Diptera |
กลุ่มแมลงวัน |
แมลงวันหัวขโมย แมลงวันหัวเขียว ยุง เหลือบ แมลงวันขายาว แมลงวันบ้าน แมลงวันดอกไม้ แมลงวันหลังลาย แมลงวันผลไม้ แมลงวันแมงมุม |
Hemiptera |
กลุ่มมวนและจักจั่น |
มวนฝักถั่ว เพลี้ยกระโดดแคระ จักจั่น เพลี้ยจักจั่น มวนนักกล้ามเขียวสองจุด มวนจู้จี้ เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล มวนเขียวถั่ว มวนเพชฌฆาตขอบเว้า มวนหลังแข็ง มวนแดงฝ้าย |
Hymenoptera |
กลุ่มผึ้ง ต่อแตน มด |
ชันโรงเล็ก ผึ้งแถบฟ้า ผึ้งมิ้ม ผึ้งหลอดไม้ แมลงภู่ดำใหญ่ แมลงภู่อกเหลือง แตนเบียน ต่อกาเหว่า มดหลังหนาม มดตะนอย มดฮี้ มดแดง ต่อเบียนลายเหลือง ต่อเบียน ต่อแมงมุม ต่อรูลายเหลือง ต่อดำ ต่อหัวเสือแถบใหญ่ แตนกระดาษ แตนเล็ก |
Isoptera |
กลุ่มปลวก |
แมลงเม่า |
Lepidoptera |
กลุ่มผีเสื้อ |
ผีเสื้อลายเหลือง ผีเสื้อหญ้าดำเล็ก ผีเสื้อหนอนคืบ ผีเสื้อหนอนหางเหลือง ผีเสื้อจรกาหนอนยี่โถ ผีเสื้อลายเสือมลายู ผีเสื้อหนอนใบรักธรรมดา ผีเสื้อเณรธรรมดา ผีเสื้อหนอนมะพร้าวธรรมดา ผีเสื้อหนอนกอ ผีเสื้อหนอนใบกุ่มเส้นดำ ผีเสื้อกลางคืน |
Mantodea |
กลุ่มตั๊กแตนตำข้าว |
ตั๊กแตนตำข้าว ตั๊กแตนตำข้าวเขียว |
Neuroptera |
กลุ่มแมลงช้าง |
แมลงช้างปีกใส แมลงช้างหนวดยาว |
Odonata |
กลุ่มแมลงปอ |
แมลงปอเข็มก้นแต้มธรรมดา แมลงปอบ้านบ่อ แมลงปอบ้านฟ้าเขียว แมลงปอบ้านปีกทองสั้น |
Orthoptera |
กลุ่มจิ้งหรีดและตั๊กแตน |
ตั๊กแตนข้าวแข้งฟ้าแดง ตั๊กแตนข้าวเล็กสองสี ตั๊กแตนข้าวปีกสั้น ตั๊กแตนหนวดสั้นอกสันสูง ตั๊กแตนหัวยาวโคนปีกแดง จิ้งหรีด จิ้งหรีดทองแดงลาย |
Phasmatodea |
กลุ่มตั๊กแตนกิ่งไม้ และตั๊กแตนใบไม้ |
ตั๊กแตนกิ่งไม้ |
ภาพตัวอย่างชนิดแมลงที่สำรวจพบในพื้นที่ป่าชายเลน
อันดับ Blattodea วงศ์ Blattellidae
แมลงสาบ (Parcoblatta sp.1)
อันดับ Hemiptera วงศ์ Delphacidae
เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล (Nilaparvata lugens)
อันดับ Coleoptera วงศ์ Chrysomelidae
ด้วงกินใบ (Phygasia sp.1)
2. ประชาคมสิ่งมีชีวิตพื้นป่าชายเลน (สัตว์หน้าดิน)
ในปี พ.ศ. 2563 กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง โดยกองอนุรักษ์ทรัพยากรป่าชายเลน ส่วนวิจัยทรัพยากรป่าชายเลน ได้ดำเนินการศึกษาประชาคมสิ่งมีชีวิตพื้นป่าชายเลน ในพื้นที่ป่าชายเลน 10 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดตราด จันทบุรี สมุทรปราการ เพชรบุรี สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช กระบี่พังงา ภูเก็ต และจังหวัดสตูล
ผลการสำรวจพบสิ่งมีชีวิตพื้นป่าชายเลนทั้งหมด 51 ชนิด (Spicies) 36 สกุล (Genus) 27 วงศ์ (Family) ที่พบมากที่สุดคือ หอยหัวเข็มหมุด อยู่ในวงศ์ ASSIMINAEIDAE รองลงมาคือ ปูแสมก้ามแดง (SESARMIDAE) ปูแสมก้ามยาว (VARUNIDAE) และไส้เดือนทะเล (CAPITELLIDAE) ตามลำดับ สัตว์หน้าดินทั้งหมดที่สำรวจพบเป็นชนิดที่หาง่ายทั่วไปในป่าชายเลน (common species) ไม่พบสัตว์หน้าดินที่อยู่ในข่ายการเฝ้าระวังหรือการอนุรักษ์คุ้มครองตามฐานข้อมูล IUCN Red List และ Data Red Data of Thailand
Phylum |
Class |
family |
sciencific name |
common name |
Thai name |
---|---|---|---|---|---|
Annelida |
Polychaeta |
- |
- |
Polychaete larvae |
ไส้เดือนทะเล |
|
|
Nephtyidae |
Nephtys sp. |
polychaete |
ไส้เดือนทะเล |
|
|
Capitellidae |
Notomastus sp. |
polychaete |
ไส้เดือนทะเล |
|
|
Amphinomidae |
Chloeia flava |
Fire Worm |
บุ้งทะเล |
Arthropoda |
Malacostraca |
Alpheidae |
Alpheaus sp. |
Snapping shrimp |
กุ้งดีดขัน |
|
|
Camptandriidae |
Paracleistostoma eriophorum |
Silt crab |
ปูโคลน |
|
|
Diogenidae |
Clibanarius sp. |
Hermit crab |
ปูเสฉวน |
|
|
Grapsidae |
Metopograpsus frontalis (Miers, 1880) |
Purple climber crab |
ปูแสมหินก้ามม่วง |
|
|
- |
- |
unidentified mantis shrimp |
กั้ง (วัยอ่อน) |
|
|
Ligiidae |
Ligia sp. |
Sea slater |
แมลงสาบทะเล |
|
|
Macrophthalmidae |
Macrophthalmus teschi (Kemp, 1919) |
Sentinel crab |
ปูก้ามหัก |
|
|
Ocypodidae |
Uca forcipita |
Forceped fiddler crab |
ปูเปี้ยวปากคีบ |
|
|
|
Uca perplexa |
Perplexing Fiddler Crab |
ปูก้ามดาบ |
|
|
|
Uca annulipes |
Porcelain fiddler crabs |
ปูก้ามดาบ |
|
|
Pilumnidae |
Heteropanope glabra (Stimpson, 1858) |
Pilumnid Crab |
ปูใบ้กระดองเรียบ |
|
|
Sesarmidae |
Clistocoeloma merguiense |
Sesarmine crab |
ปูแสมดำ |
|
|
|
Perisesarma eumolpe |
Face-banded mangrove crab |
ปูแสมก้ามแดง |
|
|
|
Episesarma mederi |
Tree-climbing crab |
ปูแสม |
|
|
|
Episesarma versicolor (Tweedie, 1940) |
Violet vinegar crab |
ปูแสมก้ามม่วง |
|
|
|
Sarmatium sp. |
Mound crab |
ปูแสม |
|
|
Varunidae |
Metaplax dentipes |
Signaller crab |
ปูแสมก้ามยาว |
|
|
|
Metaplax elegans |
Orange signaller crab |
ปูแสมก้ามยาว |
Chordata |
Actinopterygii |
Gobiidae |
Periophthalmodon sp. |
Mudskipper |
ปลาบู่วัยอ่อน |
Mollusca |
Bivalvia |
Cyrenidae |
Polymesoda erosa |
Common geloina |
หอยกัน |
|
Gastropoda |
Assimineidae |
Assiminea brevicula |
Red mangrove snail |
หอยหัวเข็มหมุด |
|
|
Ellobiidae |
Cassidula aurisfelis |
Cat's ear cassidula |
หอยหูแมว |
|
|
|
Cassidula nucleus |
Banded mangrove ear snail |
หอยหูปากม่วง |
|
|
|
Ellobium aurisjudae |
Judas ear cassidula |
หอยหมาก |
|
|
Haminoeidae |
Haminoea sp. |
Mangrove bubble-shell snail |
หอยไข่แก้ว |
|
|
Littorinidae |
Littoraria articulata |
Periwinkle |
หอยก้นแหลม |
|
|
|
Littoraria carinifera (Menke, 1830) |
Carinate periwinkle |
หอยก้นแหลม |
Mollusca |
Gastropoda |
Littorinidae |
Littoraria pallescens (Philippi, 1846) |
Periwinkle |
หอยก้นแหลม |
|
|
|
Littoraria melanostoma (Gray, 1839) |
Periwinkle |
หอยก้นแหลม |
|
|
Melampidae |
Pythia plicata (Gray, 1825) |
Plicated pythia |
หอยหูสั้น |
Muricidae |
Chicoreus capucinus |
Mangrove murex |
หอยสังข์หนามป่าเลน |
||
|
|
Nassariidae |
Nassarius sp. |
- |
- |
|
|
Neritidae |
Nerita chamaeleon (Linné,1758) |
Chamaeleon nerita |
หอยน้ำพริก |
|
|
|
Nerita planospira |
Flat-spired nerite |
หอยกะทิยอดราบ |
|
|
|
Nerita articulata |
Articulate nerite |
หอยทะนนลายแต้ม |
|
|
|
Neritina cornucopia |
Black-mouth nerite |
หอยน้ำพริกปากดำ |
|
|
|
Neritina violacea |
Violet nerite |
หอยน้ำพริกปากส้ม |
|
|
|
Neritodryas dubia (Gmelin, 1791) |
Dubious nerite |
หอยน้ำพริกกาบจาก |
|
|
Onchidiidae |
Platevindex sp. |
Mangrove sluge |
ทากปุ่มป่าเลน |
|
|
Potamididae |
Cerithidea alata (Philippi, 1849) |
- |
หอยจุ๊บแจง |
|
|
|
Cerithidea obtusa |
Obtuse horn shell |
หอยจุ๊บแจง |
|
|
|
Cerithidea quadrata |
Quadrate Horn Shell |
หอยจุ๊บแจงปากเหลี่ยม |
|
|
|
Pirenella cingulata |
Girdled horn shell |
หอยขี้นกทราย |
|
|
|
Telescopium telescopium |
Telescope snail |
หอยขี้กา |
|
|
|
Terebralia palustris (Linnaeus, 1767) |
Mud creeper |
หอยขี้ค้อน |
|
|
Turritellidae |
Turritella cingulifera |
Turritella |
หอยมวนพลู |
Sipuncula |
Sipunculidea |
Sipunculidae |
Sipunculus sp. |
Peanut worm |
หนอนถั่ว |
ภาพตัวอย่างสัตว์หน้าดินที่สำรวจพบในป่าชายเลน
Sipunculus sp.
Nerita articulata
Littoraria articulata
3. นกในป่าชายเลน
ในปี พ.ศ. 2563 กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง โดยกองอนุรักษ์ทรัพยากรป่าชายเลน ส่วนวิจัยทรัพยากรป่าชายเลน ได้ดำเนินการสำรวจความหลากหลายของนก ในพื้นที่ป่าชายเลนทั้ง 10 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดตราด จันทบุรี สมุทรปราการ เพชรบุรี สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พังงา ภูเก็ต กระบี่ และจังหวัดสตูล
ผลการสำรวจพบนกทั้งหมด 19 อันดับ 57 วงศ์ 185 ชนิด วงศ์ที่พบมากที่สุด คือ อันดับ Charadriiformes วงศ์นกชายเลน (Scolopacidae) จำนวน 23 ชนิด รองลงมาคือ อันดับ Charadriiformes วงศ์นกนางนวล (Laridae) จำนวน 13 ชนิด อันดับ Pelecaniformes วงศ์นกยาง (Ardeidae) จำนวน 12 ชนิด อันดับ Charadriiformes วงศ์นกหัวโต (Charadriidae) จำนวน 9 ชนิด อันดับ Accipitriformes วงศ์เหยี่ยว (Accipitridae) อันดับ Coraciiformes วงศ์นกกะเต็น (Alcedinidae) จำนวน 8 ชนิด เป็นต้น
จะเห็นได้ว่านกส่วนใหญ่ที่สำรวจพบมีความสัมพันธ์กับแหล่งหากินตามระบบนิเวศป่าชายเลน ที่ประกอบด้วยแหล่งน้ำซึ่งเป็นแหล่งอาหารหลักของนก พื้นที่หากินหลบภัยทั้งในส่วนของสังคมป่า สันดอนทราย และหาดเลนปากแม่น้ำ
ชื่ออันดับ |
ชื่อวงศ์ |
ตัวอย่างชนิดนก |
---|---|---|
ANSERIFORMES |
Anatidae |
เป็ดหางแหลม เป็ดเปียหน้าเขียว เป็ดเทาก้นดำ เป็ดแดง เป็ดพม่า |
ACCIPITRIFORMES |
Accipitridae |
เหยี่ยวขาว นกออก เหยี่ยวแดง เหยี่ยวหูดำ เหยี่ยวผึ้ง เหยี่ยวรุ้ง |
APODIFORMES |
Apodidae |
นกแอ่นกินรัง นกแอ่นรังดำ นกแอ่นบ้าน นกแอ่นตาล |
BUCEROTIFORMES |
Bucerotidae |
นกแก๊ก |
|
Upupidae |
นกกะรางหัวขวาน |
CAPRIMULGIFORMES |
Caprimulgidae |
นกตบยุงหางยาว |
CHARADRIIFORMES |
Charadriidae |
นกหัวโตขาดำ นกหัวโตทรายเล็ก นกหัวโตมลายู นกกระแตแต้แว้ด |
Glareolidae |
นกแอ่นทุ่งใหญ่ |
|
Jacanidae |
นกพริก |
|
Laridae |
นกนางนวลแกลบเคราขาว นกนางนวลธรรมดา นกนางนวลแกลบเล็ก |
|
Recurvirostridae |
นกตีนเทียน |
|
Scolopacidae |
นกเด้าดิน นกสติ๊นท์นิ้วยาว นกน็อทใหญ่ นกปากแอ่นหางดำ นกอีก๋อยใหญ่ นกอีก๋อยเล็ก นกชายเลนน้ำจืด นกทะเลขาเขียวลายจุด |
|
Scolopacidae |
นกทะเลขาเขียวธรรมดา นกชายเลนบึง นกทะเลขาแดงธรรมดา นกชายเลนปากแอ่น |
|
Turnicidae |
นกคุ่มอกลาย |
|
CICONIIFORMES |
Ciconiidae |
นกปากห่าง นกกาบบัว |
COLUMBIFORMES |
Columbidae |
นกพิราบป่า นกเขาชวา นกเขาใหญ่ นกเขาไฟ นกเปล้าคอสีม่วง |
CORACIIFORMES |
Alcedinidae |
นกกะเต็นหัวดำ นกกะเต็นอกขาว นกกินเปี้ยว |
|
Coraciidae |
นกตะขาบทุ่ง นกตะขาบดง |
|
Meropidae |
นกจาบคาเล็ก นกจาบคาหัวเขียว |
CUCULIFORMES |
Cuculidae |
นกอีวาบตั๊กแตน นกกะปูดใหญ่ นกกาเหว่า |
FALCONIFORMES |
Falconidae |
เหยี่ยวเคสเตรล |
GRUIFORMES |
Rallidae |
นกกวัก นกอีโก้ง นกอีล้ำ |
PASSERIFORMES |
Acanthizidae |
นกกระจ้อยป่าโกงกาง |
|
Acrocephalidae |
นกพงใหญ่พันธุ์ญี่ปุ่น |
|
Aegithinidae |
นกขมิ้นน้อยธรรมดา |
|
Alaudidae |
นกจาบฝนปีกแดง |
|
Artamidae |
นกแอ่นพง |
|
Campephagidae |
นกเขนน้อยคิ้วขาว |
|
Cisticolidae |
นกกระจิบคอดำ นกกระจิบธรรมดา |
|
Corvidae |
อีกา นกกาแวน |
|
Dicaeidae |
นกสีชมพูสวน |
|
Dicruridae |
นกแซงแซวสีเทา นกแซงแซวหางปลา |
|
Estrildidae |
นกกระติ๊ดขี้หมู นกกระติ๊ดตะโพกขาว |
|
Eurylaimidae |
นกพญาปากกว้างท้องแดง |
|
Hirundinidae |
นกนางแอ่นแปซิฟิค นกนางแอ่นบ้าน |
|
Laniidae |
นกอีเสือสีน้ำตาล |
|
Monarchidae |
นกแซวสวรรค์ |
|
Motacillidae |
นกเด้าดินทุ่งเล็ก นกเด้าลมดง |
|
Muscicapidae |
นกกางเขนบ้าน นกจับแมลงคอแดง นกจับแมลงป่าโกงกาง |
|
Nectariniidae |
นกกินปลีคอสีน้ำตาล นกกินปลีอกเหลือง |
|
Pachycephalidae |
นกโกงกางหัวโต |
|
Passeridae |
นกกระจอกบ้าน นกกระจอกใหญ่ |
|
Phylloscopidae |
นกกระจิ๊ดปากหนา นกกระจิ๊ดขาสีเนื้อ |
|
Pittidae |
นกแต้วแล้วป่าโกงกาง |
|
Ploceidae |
นกกระจาบธรรมดา |
|
Pycnonotidae |
นกปรอดหน้านวล นกปรอดสวน |
|
Rhipiduridae |
นกอีแพรดแถบอกดำ |
|
Sturnidae |
นกเอี้ยงหงอน นกเอี้ยงควาย |
|
Sturnidae |
นกเอี้ยงสาริกา นกเอี้ยงด่าง |
|
Zosteropidae |
นกแว่นตาขาวสีทอง |
PELECANIFORMES |
Ardeidae |
นกยางโทนใหญ่ นกยางโทนน้อย นกกระสานวล นกกระสาแดง นกยางควาย นกยางเขียว นกยางเปีย นกยางทะเล นกยางไฟหัวดำ |
|
Threskiornithidae |
นกช้อนหอยขาว |
PICIFORMES |
Megalaimidae |
นกโพระดกธรรมดา นกตีทอง |
|
Picidae |
นกหัวขวานสามนิ้วหลังทอง นกหัวขวานด่างแคระปักษ์ใต้ |
PODICEPEDIFORMES |
Podicipedidae |
นกเป็ดผีเล็ก |
PSITTACIFORMES |
Psittacidae |
นกหกเล็กปากแดง |
STRIGIFORMES |
Strigidae |
นกเค้าเหยี่ยว นกเค้ากู่ |
SULIFORMES |
Anhingidae |
นกอ้ายงั่ว |
|
Phalacrocoracidae |
นกกาน้ำเล็ก นกกาน้ำปากยาว |
ภาพตัวอย่างชนิดนกที่สำรวจพบในพื้นที่ป่าชายเลน
นกแอ่นทุ่งใหญ่ (Glareola maldivarum)
นกหัวโตขาเล็กเหลือง (Charadrius dubius)
นกนางนวลหัวดำ (Chroicocephalus ridibundus)
นกชายเลนปากช้อน (Calidris pygmeus)
4. กลุ่มปลาในป่าชายเลน
ในป่าชายเลนมีความหลากหลายของชนิดปลาสูง ปลาที่อาศัยและมีวงจรชีวิตอยู่เฉพาะในป่าชายเลน ได้แก่ ปลาตีน ปลากระบอกบางชนิด ปลาบู่บางชนิด และปลาตาเหลือก เป็นต้น ส่วนปลาเศรษฐกิจที่ใช้ชีวิตช่วงวัยอ่อนในป่าชายเลน ได้แก่ กลุ่มปลาเก๋าและกลุ่มปลากะพง เป็นต้น ปลาเศรษฐกิจหลัก ได้แก่ กลุ่มปลากระบอก กลุ่มปลาบู่ กลุ่มปลากะพง และกลุ่มปลาเก๋า เป็นต้น ปลาชนิดที่สำคัญที่พบในป่าชายเลนมีมากกว่า 70 ชนิด (สุภาพ และคณะ 2530, Monkolprasit 1983) ปลาที่สร้างสีสันให้แก่ป่าชายเลน นอกจากปลาตีนแล้วยังมีปลาเสือพ่นน้ำ ปลาชนิดนี้จะว่ายใกล้ผิวน้ำรอจังหวะสำหรับพ่นน้ำไปยังตัวแมลงที่เกาะตามกิ่งใบ
ชื่อไทย |
ชื่อวิทยาศาสตร์ |
วงศ์ |
---|---|---|
ปลาอมไข่ |
Apogon sangiensis |
Apogonidae |
ปลากดทะเล |
Arius sagor |
Ariidae |
ปลาอีกง/มังกง |
Macrones gulio |
Bagridae |
ปลามังกรน้อยหัวแหลม |
Callionymus sagitta |
Callionymidae |
ปลาสีกุนแก้มดำ |
Caranx djedaba |
Carangidae |
ปลาเฉลียบ/ปลาสละ |
Chorinemus lysan |
Carangidae |
ปลาข้าวเม่า/ปลาขี้จัน |
Ambassis buruensis |
Centropomidae |
ปลาข้าวเม่า |
Ambassis commersoni |
Centropomidae |
ปลาข้าวเม่า |
Ambassis dayi |
Centropomidae |
ปลาข้าวเม่า |
Ambassis interrupta |
Centropomidae |
ปลาข้าวเม่า/ปลาขี้จัน |
Ambassis kopsi |
Centropomidae |
ปลาข้าวเม่า |
Ambassis urotaenia |
Centropomidae |
ปลานวลจันทร์ทะเล |
Chanos chanos |
Chanidae |
ปลาหลังเขียว |
Clupea dispilonotus |
Clupeidae |
- |
Clupea perforate |
Clupeidae |
ปลากะตักขาว/ปลาจิงจั้ง |
Clupeoides lile |
Eleotridae |
ปลาบู่เกล็ดแข็ง/ปลาบู่จาก |
Butis butis |
Eleotridae |
ปลาบู่หัวมัน/ปลาช่อนน้ำเค็ม |
Ophiocara porocephala |
Engraulidae |
- |
Engraulis grayi |
Engraulidae |
ปลาไส้ตัน/ปลาหัวอ่อน |
Stolephorus indicus |
Gobiidae |
ปลาบู่ทะเล |
Acentrogobius viridipunctatus |
Gobiidae |
ปลาบู่น้ำตาล/ปลาบู่ปีกพู่ |
Bathygobius fuscus |
Gobiidae |
ปลาบู่เสือ |
Brachygobius sua |
Gobiidae |
ปลาบู่ทราย/ปลาบู่ทอง |
Glossogobius giuris |
Gobiidae |
ปลาบู่ |
Stigmatogobius javanicus |
Gobiidae |
ปลาผี |
Taenioides anguillaris |
Hemirhamphidae |
ปลากระทุงเหวปากแดง |
Hemirhamphus gaimardi |
Hemirhamphidae |
ปลากระทุงเหว |
Hemirhamphus melanurus |
Latidae |
ปลากะพงขาว |
Lates calcarifer |
Leiognathidae |
ปลาแปปทะเล/ปลาแป้นทะเล |
Gazza minuta |
Leiognathidae |
ปลาดอกหมาก |
Gerres abbreviates |
Leiognathidae |
- |
Gerres punctatus |
Leiognathidae |
ปลาแป้นเด็ก/ปลาแป้นจมูกสั้น |
Leiognathus brevirostris |
Leiognathidae |
ปลาแป้นยักษ์/ปลาแป้นใหญ่ |
Leiognathus equulus |
Leiognathidae |
- |
Leiognathus lineolatus |
Leiognathidae |
ปลาแป้นกระสวย/ปลาแป้นเมือก |
Leiognathus splenders |
Lujanidae |
ปลากะพงแดงสีเลือด |
Lujanus argentimaculatus |
Lujanidae |
ปลากะพงแดง/ปลาข้างปาน |
Lujanus johni |
Lujanidae |
ปลากะพงข้างปาน |
Lujanus russelli |
Lujanidae |
ปลากะพงน้ำตาลแดง |
Lujanus vaigiensis |
Megalopidae |
ปลาตาเหลือกขาว/ปลาข้าวเหนียวบูด |
Megalops cyprinoids |
Monodactylidae |
ปลาผีเสื้อเงิน/โสร่งแขก |
Monodactylus argenteus |
Mugilidae |
ปลาหัวตะกั่ว |
Atherina valenciennesi |
Mugilidae |
ปลากระบอก |
Mugil borneenis |
Mugilidae |
ปลากระบอกขาว |
Mugil dussumieri |
Mugilidae |
ปลากระบอก |
Mugil kelaartii |
Mugilidae |
ปลากระบอกหางสีฟ้า |
Mugil seheli |
Mugilidae |
ปลากระบอก |
Mugil subvirdis |
Mugilidae |
ปลากระบอกท่อนไต้ |
Mugil vaigensis |
Mugilidae |
ปลาหนวดฤๅษี/ปลาแพะเหลือง |
Upeneus sulphureus |
Mugilidae |
ปลาตีน/ปลากำพุด |
Boleophthalmus boddarti |
Periophthalmidae |
ปลาบู่ |
Periophthalmux barbarus |
Periophthalmidae |
ปลาหางควาย/ปลาช้างเหยียบหัวหยาบ |
Platycephalus scaber |
Platycephalidae |
ปลาดุกทะเล |
Plotosus canius |
Photosidae |
ปลาดุกะพงแสมแก้มดำ |
Pomadasys argyreus |
Pomadasyidae |
ปลากะพงแสม |
Pomadasys hasta |
Pomadasyidae |
ปลาหัวขวาน/ปลาสีกรุด |
Pomasasys maculatus |
Pomadasyidae |
ปลาตะกรับ/ปลากะทะ |
Scatophagus argus |
Scatophagidae |
ปลาจวดเขี้ยวโง้ง |
Otolithus ruber |
Scianidae |
ปลากระรังลายหางตัด |
Epinephelus areolatus |
Serranidae |
ปลากะรังจุดเหลือง |
Epinephelus bleekeri |
Serranidae |
ปลากะรังปากแม่น้ำ |
Epinephelus malabaricus |
Serranidae |
ปลาสลิดทะเล |
Siganus spp. |
Siganidae |
ปลาช่อนทราย/ปลาเห็ดโคน |
Sillago sihama |
Sillaginidae |
ปลาปักเป้าหลังเขียว |
Sphoeroides lunaris |
Tetrodonitidae |
ปลาปักเป้า |
Tetrodon fluviatilis |
Tetrodonitidae |
ปลาข้างลาย/ปลาข้างตะเภา |
Therapon jarbua |
Theraponidae |
ปลาวัว |
Triacanthus biaculeatus |
Triacanthidae |
5. สัตว์เลื้อยคลานในป่าชายเลน
แม้ว่าสัตว์เลื้อยคลานในป่าชายเลนจะมีไม่มากชนิด แต่เมื่อเปรียบเทียบกับสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกก็ถือว่ามีจำนวนมาก
งู เป็นสัตว์ที่พบมากชนิดกว่าสัตว์กลุ่มอื่นๆ งูหลายชนิดไม่ได้เป็นงูที่อยู่เฉพาะในป่าชายเลน แต่เป็นงูที่อยู่ในระบบนิเวศบกที่เข้ามาหาอาหารเป็นครั้งคราว เช่น งูเห่า งูเหลือม งูปล้องทอง งูทับสมิงคลา งูจากทะเลก็เข้ามาอยู่ในป่าชายเลนเช่นเดียวกัน งูที่เป็นงูป่าชายเลน เช่น งูพังกา งูเป็นสัตว์กินเนื้อ อาหารในป่าชายเลนส่วนใหญ่ ได้แก่ ปูและปลาขนาดเล็ก
สัตว์กลุ่มกิ้งก่า ก็พบมากในป่าชายเลน เช่น เหี้ย ตุ๊ดตู่ ตุ๊กแก สัตว์ในกลุ่มนี้จะกินเนื้อเป็นอาหาร
จระเข้น้ำเค็ม แม้ว่าป่าชายเลนในประเทศไทยจะมีจระเข้หลงเหลืออยู่น้อยมากหรือไม่มีแล้ว แต่ในต่างประเทศในทุกทวีปยังคงมีจระเข้อาศัยอยู่ในป่าชายเลน
6. สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในป่าชายเลน
เป็นกลุ่มสัตว์ที่พบในป่าชายเลนค่อนข้างน้อย ที่พบบ่อย ได้แก่ ลิงแสม และค้างคาว นอกจากนี้ยังพบนาก (ที่พบบ่อย คือ นากใหญ่ขนเรียบ) พังพอน เสือปลา และปลาโลมา แต่ไม่บ่อยนัก
ลิงแสม จะลงมาหากินบนพื้นเลน โดยจะกินปูและหอยสองฝา นอกจากนี้ยังมีนิสัยชอบถอนฝักโกงกาง ในป่าธรรมชาติ ไม่มีหลักฐานเด่นชัดว่าทำความเสียหายต่อการสืบพันธุ์ตามธรรมชาติและต่อโครงสร้างของป่าชายเลนอย่างไร แต่ในการปลูกป่าชายเลน ลิงแสมจะเป็นหนึ่งในปัจจัยหลักที่ทำความเสียหายต่อแปลงปลูกป่าชายเลน
อ้างอิง:
ธีรภัทร ประยูรสิทธิ และจิตต์ คงแสงไชย. (2534). สัตว์มีกระดูกสันหลัง (ยกเว้นปลา) ในป่าชายเลนของประเทศไทย. วารสารสัตว์ป่าเมืองไทย, 1, 106-136.
ปิยรัตน์ วงศ์อรินทร์. (2532). นกในบริเวณป่าชายเลนและพื้นที่ใกล้เคียง ในจังหวัดกระบี่. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. 100 หน้า.
เพ็ญศรี ไววนิชกุล. (2519). การสำรวจแมลงบริเวณป่าชายเลน จังหวัดสมุทรปราการ. รายงานการสัมมนาระบบนิเวศในป่าชายเลน ครั้งที่ 1, สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.
ไพบูลย์ นัยเนตร และเสรี บรรพวิจิตร. (2522). ปูก้ามดาบในประเทศไทย. รายงานการสัมมนาระบบนิเวศป่าชายเลน ครั้งที่ 3, สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.
สมนึก ใช้เทียมวงศ์. (2519). รายชื่อกุ้งชนิดต่าง ๆ ที่พบในบริเวณป่าไม้ชายเลนบางแห่งของประเทศไทย. รายงานการสัมมนาระบบนิเวศป่าขายเลน ครั้งที่ 1, สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.
สำนักอนุรักษ์ทรัพยากรป่าชายเลน. (2561). สัตว์ในป่าชายเลน. ค้นเมื่อ 24 กุมภาพันธ์ 2564, จาก https://km.dmcr.go.th/th/c_11/d_19088.
สุภาพ มงคลประสิทธิ์ สุรีย์ วิมลโลหการ และทวีศักดิ์ ทรงศิริกุล. (2530). ปลาเมืองไทย. คณะประมง, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. กรุงเทพฯ
Isarankura, K. (1976). Status report on faunistic aspects of mangrove forest in Thailand. Proceedings of the 1st National Seminar on Mangrove Ecosystem. NRCT, Bangkok.
Monkolprasit, S. (1983). Fish in mangrove and adjacent area. The UNDP/UNESCO Regional Training Course on Introduction to Mangrove Ecosystem. NRCT, Bangkok.
Naiyanetr, P. (1985). Life history of selected species of crabs in mangroves The UNDP/UNESCO Regional Training Course on Introduction to Mangrove Ecosystem. NRCT., Bangkok.s
Ngampongsai, C., V. Lauchachinda, and J. Nabhitabhata. (1988a). Wildlife resources of Phangnga Bay. In: Integrated Coastal Resources Development and Management Planning; Upper South Coastal Zone, Thailand.
Ngampongsai, C., V. Lauhachinda, and J. Nabhitabhata. (1988b). Number of Wildlife found in Bandon Bay. In: Integrated Coastal Resources Development and Management Planning; Upper South Coastal Zone, Thailand.