“นก” เป็นหน่วยหนึ่งของระบบนิเวศ เป็นตัวเชื่อมต่อขบวนการของระบบนิเวศให้สมบูรณ์ อาทิเช่น วงจรของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ อันเกี่ยวกับการสังเคราะห์แสงของพืช ตลอดจนการหมุนเวียนธาตุอาหารในสายใยชีวิต คอยสร้างสมดุลในฐานะผู้บริโภคที่สำคัญของระบบนิเวศ เห็นได้ว่ามีนกอาศัยทำหน้าที่อยู่ทั่วทุกมุมโลก นกเป็นตัวการหนึ่งในการผสมพันธุ์และกระจายพันธุ์พืช อีกทั้งยังเป็นตัวช่วยควบคุมประชากรของสัตว์ชนิดอื่นๆ เช่น กำจัดแมลง ตัวหนอน ซึ่งเป็นศัตรูต่อพันธุ์ไม้ในป่าและผักผลไม้ต่างๆ และเนื่องจากนกส่วนใหญ่กินแมลงเป็นอาหาร จึงมีประโยชน์ต่อมนุษย์ในการควบคุมปริมาณแมลงศัตรูพืชทางการเกษตร และเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญทั้งในระดับประเทศและในระดับภูมิภาค
“ความหลากหลายของนก” เป็นตัวชี้วัดสำคัญของระบบนิเวศที่ยั่งยืน ตัวอย่างนกประจำถิ่นบางชนิดอาจพบเฉพาะในป่าชายเลนที่สมบูรณ์ ดังนั้น การหายไปของชนิดพันธุ์เหล่านั้นอาจเป็นตัวบ่งชี้ที่สำคัญถึงการเปลี่ยนแปลงของป่า นกอพยพตามฤดูกาลนับเป็นทรัพยากรร่วมกันระหว่างประเทศเลยก็ว่าได้ เพราะนกชายเลนหลายชนิดเดินทางหากินในรอบปีหลายพันกิโลเมตรตามแนวชายฝั่งทะเลของประเทศในซีกโลกเหนือลงไปยังซีกโลกใต้ ซึ่งพื้นที่ชายฝั่งทะเลของประเทศไทยถือเป็นทางผ่านและแหล่งพักอาศัยที่สำคัญของนกเหล่านั้นด้วยเช่นกัน
“ป่าชายเลน” จัดเป็นถิ่นอาศัยของนกหลากหลายชนิด ทั้งนกประจำถิ่นและนกที่อพยพตามฤดูกาล เนื่องจากเป็นแหล่งอาศัยที่สำคัญของสัตว์ทะเลชายฝั่ง จึงเป็นแหล่งอาหารที่ยั่งยืนของนกนานาชนิด เช่น นกกะเต็น (Kingfisher) นกกาน้ำ (Cormorant) นกยาง (Egret) และนกชายเลน (Shorebirds) เป็นต้น ปัจจุบันป่าชายเลนถูกบุกรุกอย่างต่อเนื่อง และยังมีการรบกวนถิ่นอาศัยของนกอันเนื่องมาจากกิจกรรมของมนุษย์ที่ดำเนินการในพื้นที่ป่าชายเลนและใกล้เคียง ส่งผลทำให้คุณภาพถิ่นอาศัยของนกเสื่อมโทรมลง นกกลุ่มที่อาศัยหากินในบริเวณพื้นที่ป่าชายเลนทั้งนกประจำถิ่นและนกอพยพ ต่างได้รับผลกระทบ ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่อาศัย พื้นที่วางไข่และพื้นที่เลี้ยงดูลูกหายไป ปริมาณอาหารลดลง และปัจจัยจากการล่าโดยมนุษย์ เป็นต้น
ความหลากหลายของชนิดพันธุ์เป็นข้อมูลหนึ่งที่สามารถนำมาเป็นตัวชี้วัดได้ว่า พื้นที่ซึ่งมีความหลากหลายสูงนั้นแสดงถึงสภาพถิ่นอาศัยที่เหมาะสม และมีแหล่งอาหารอุดมสมบูรณ์มากกว่าพื้นที่ที่มีความหลากหลายน้อยกว่า ซึ่งป่าชายเลนที่อุดมสมบูรณ์จะเป็นแหล่งอาศัยของนกได้ดีกว่าป่าชายเลนเสื่อมโทรมอย่างแน่นอน
ในปี พ.ศ. 2563 กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง โดยกองอนุรักษ์ทรัพยากรป่าชายเลน ส่วนวิจัยทรัพยากรป่าชายเลน ได้ดำเนินการสำรวจนกในพื้นที่ป่าชายเลน 9 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดจันทบุรี ระยอง สมุทรสาคร ระนอง นครศรีธรรมราช กระบี่ ตรัง สตูล และจังหวัดนราธิวาส
ผลการสำรวจพบนกทั้งสิ้น 15 อันดับ (Order) 42 (Family) วงศ์ 107 ชนิด (Species)
โดยพบนกในอันดับนกเกาะคอน หรือนกร้องเพลง (Order Passeriformes) มากที่สุด จำนวน 42 ชนิด 29 สกุล 22 วงศ์ และวงศ์ที่พบชนิดมากที่สุดคือวงศ์นกชายเลน (Family Scolopacidae) ใน Order Charadriiformes (อันดับนกชายเลนและนกนางนวล) จำนวน 22 ชนิด โดยจำแนกรายละเอียดรายจังหวัด ดังนี้
จังหวัดจันทบุรี พบนกทั้งหมด 12 อันดับ 31 วงศ์ 48 ชนิด พบความหลากหลายในอันดับนกกระทุง (Pelecaniformes) วงศ์นกยาง (Ardeidae) มากที่สุด ได้แก่ นกยางโทนน้อย (Ardea intermedia) นกยางเปีย (Egretta garzetta ) และนกยางกรอกพันธุ์จีน (Ardeola bacchus) เป็นต้น นกที่พบมากที่สุด ได้แก่ นกเหยี่ยวแดง (Haliastur indus) นกนางแอ่นแปซิฟิค (Hirundo tahitica) และนกกาน้ำเล็ก (Microcarbo niger) ตามลำดับ
จังหวัดระยอง พบนกทั้งหมด 10 อันดับ 25 วงศ์ 39 ชนิด พบความหลากหลายในอันดับนกกระทุง (Pelecaniformes) วงศ์นกยาง (Ardeidae) มากที่สุด เช่น นกยางโทนน้อย (Ardea intermedia) นกยางทะเล (Egretta sacra) และนกยางเปีย (Egretta garzetta ) เป็นต้น นกที่พบมากที่สุด ได้แก่ นกนางแอ่นแปซิฟิค (Hirundo tahitica) นกกระติ๊ดขี้หมู(Lonchura punctulata) และนกแซงแซวหางปลา (Dicrurus macrocercus) ตามลำดับ
จังหวัดสมุทรสาคร พบนกทั้งหมด 13 อันดับ 26 วงศ์ 55 ชนิด พบความหลากหลายในอันดับนกชายเลนและนกนางนวล (Charadriiformes) วงศ์นกชายเลน (Scolopacidae) มากที่สุด ได้แก่ นกทะเลขาแดงธรรมดา (Tringa totanus) นกปากแอ่นหางดำ (Limosa melanuroides) และนกอีก๋อยเล็ก (Numenius phaeopus) เป็นต้น นกที่พบมากที่สุด ได้แก่ นกกาน้ำเล็ก (Microcarbo niger) นกปากแอ่นหางดำ (Limosa melanuroides) และนกนางนวลธรรมดา (Chroicocephalus brunnicephalus) ตามลำดับ พบนกที่อยู่ในกลุ่มใกล้ถูกคุกคาม (Near Threatened; NT) ได้แก่ นกนางนวลแกลบเล็ก (Sternula albifrons) และนกปากแอ่นหางดำ (Limosa melanuroides)
จังหวัดนครศรีธรรมราช พบนกทั้งหมด 12 อันดับ 25 วงศ์ 46 ชนิด พบความหลากหลายในอันดับนกกระทุง (Pelecaniformes) วงศ์นกยาง (Ardeidae) มากที่สุด ได้แก่ นกยางโทนน้อย (Ardea intermedia) นกยางกรอกพันธุ์จีน (Ardeola bacchus) และนกยางควาย (Bubulcus coromandus) เป็นต้น นกที่พบมากที่สุด ได้แก่ นกนางแอ่นแปซิฟิค (Hirundo tahitica) นกจาบคาหัวเขียว (Merops philippinus) นกกะเต็นอกขาว (Calidris tenuirostris) ตามลำดับ
จังหวัดระนอง พบนกทั้งหมด 11 อันดับ 24 วงศ์ 40 ชนิด พบความหลากหลายในอันดับนกกระทุง (Pelecaniformes) วงศ์นกยาง (Ardeidae) มากที่สุด ได้แก่ นกยางกรอกพันธุ์จีน (Ardeola bacchus) นกยางโทนน้อย (Ardea intermedia) และนกยางโทนใหญ่ (Ardea alba) เป็นต้น นกที่พบมากที่สุด ได้แก่ นกกะเต็นอกขาว (Copsychus saularis)นกนางแอ่นแปซิฟิก (Hirundo tahitica) นกปากห่าง (Anastomus oscitans) ตามลำดับ
จังหวัดกระบี่ พบนกทั้งหมด 12 อันดับ 29 วงศ์ 51 ชนิด พบความหลากหลายในอันดับนกกระทุง (Pelecaniformes) วงศ์นกยาง (Ardeidae) มากที่สุด ได้แก่ นกยางโทนใหญ่ (Ardea alba) นกยางโทนน้อย (Ardea intermedia) และนกยางทะเล (Egretta sacra) เป็นต้น นกที่พบมากที่สุด ได้แก่ นกหัวโตทรายเล็ก (Charadrius mongolus) นกนางแอ่นแปซิฟิก (Hirundo tahitica) และนกนางแอ่นบ้าน (Hirundo rustica) ตามลำดับ
จังหวัดตรัง พบนกทั้งหมด 12 อันดับ 30 วงศ์ 47 ชนิด พบความหลากหลายในอันดับนกกระทุง (Pelecaniformes) วงศ์นกยาง (Ardeidae) มากที่สุด ได้แก่ นกยางโทนใหญ่ (Ardea alba) นกยางกรอกพันธุ์จีน (Ardeola bacchus) และนกยางทะเล (Egretta sacra) นกที่พบมากที่สุด ได้แก่ นกหัวโตทรายเล็ก (Charadrius mongolus) นกนกกินเปี้ยว (Todiramphus chloris) และนกอีก๋อยเล็ก (Numenius phaeopus) ตามลำดับ
จังหวัดสตูล พบนกทั้งหมด 12 อันดับ 29 วงศ์ 60 ชนิด พบความหลากหลายในอันดับนกกระทุง (Pelecaniformes) วงศ์นกยาง (Ardeidae) มากที่สุด ได้แก่ นกยางโทนใหญ่ (Ardea alba) นกยางโทนน้อย (Ardea intermedia) และนกยางทะเล (Egretta sacra) นกที่พบมากที่สุด ได้แก่ นกยางโทนน้อย (Ardea intermedia) นกหัวโตทรายเล็ก (Charadrius mongolus) และเหยี่ยวแดง (Haliastur indus) ตามลำดับ พบนกที่อยู่ในกลุ่มใกล้ถูกคุกคาม (Near Threatened; NT) ได้แก่ นกปากแอ่นหางลาย (Limosa lapponica)
จังหวัดนราธิวาส พบนกทั้งหมด 11 อันดับ 28 วงศ์ 56 ชนิด พบความหลากหลายในอันดับนกตะขาบ (Coraciiformes) วงศ์นกกะเต็น (Alcedinidae) มากที่สุด ได้แก่ นกกะเต็นอกขาว (Halcyon smyrnensis) นกจาบคาหัวเขียว (Merops philippinus) และนกจาบคาหัวสีส้ม (Merops leschenaulti) เป็นต้น นกที่พบมากที่สุด ได้แก่ นกยางโทนน้อย (Ardea intermedia) นกกาน้ำเล็ก (Microcarbo niger) และนกนางแอ่นแปซิฟิก (Hirundo tahitica) ตามลำดับ พบนกที่อยู่ในกลุ่มใกล้ถูกคุกคาม (Near Threatened; NT) ได้แก่ นกกะเต็นใหญ่ปีกสีน้ำตาล (Pelargopsis capensis) และนกกินปลีคอสีน้ำตาลแดง (Leptocoma calcostetha)
กราฟแสดงความหลากหลายเปรียบเทียบแต่ละจังหวัด
กราฟแสดงจำนวนชนิดนกที่สำรวจพบรายจังหวัด
สถานภาพตามฤดูกาล
เมื่อจัดแบ่งตามข้อมูลของสมาคมอนุรักษ์นกและธรรมชาติแห่งประเทศไทย (2020) จากนกที่สำรวจพบทั้งหมด 107 ชนิด แบ่งเป็น นกประจำถิ่น (Resident) 67 ชนิด นกอพยพตามฤดูกาล (Non-breeding visitor) 24 ชนิด นกอพยพมาทำรังวางไข่ (Breeding visitor) 1 ชนิด เป็นนกในอันดับนกชายเลนและนกนางนวล (Charadriiformes) คือ นกแอ่นทุ่งใหญ่ (Glareola maldivarum) และนกที่มีทั้งประชากรประจำถิ่นและประชากรที่อพยพตามฤดูกาล 15 ชนิด ตัวอย่างนกประจำถิ่นที่พบได้ทั่วไปในป่าชายเลน เช่น นกกินเปี้ยว (Todiramphus chloris) นกกินปลีอกเหลือง (Cinnyris jugularis) นกปรอดหน้านวล (Pycnonotus goiavier) นกกาน้ำเล็ก (Microcarbo niger) นกยางโทนใหญ่ (Ardea alba) นกยางทะเล (Egretta sacra) และเหยี่ยวแดง (Haliastur indus) เป็นต้น
กราฟแสดงจำนวนชนิดในแต่ละสถานภาพตามฤดูกาลของการสำรวจนก ปี 2563
ภาพตัวอย่างชนิดนกที่สำรวจในปี 2563
นกอีก๋อยเล็ก (Numenius phaeopus)
เหยี่ยวแดง (Haliastur indus)
นกนางแอ่นแปซิฟิค (Hirundo tahitica)
นกกระสานวล (Ardea cinerea)
อันดับ |
วงศ์ |
ชนิด |
ชื่อวิทยาศาสตร์ |
---|---|---|---|
ANSERIFORMES |
Anatidae |
เป็ดแดง |
Dendrocygna javanica |
ACCIPITRIFORMES |
Accipitridae |
เหยี่ยวแดง |
Haliastur indus |
APODIFORMES |
Apodidae |
นกแอ่นกินรัง |
Aerodramus germani |
|
นกแอ่นบ้าน |
Apus nipalensis |
|
|
นกแอ่นตาล |
Cypsiurus balasiensis |
|
CAPRIMULGIFORMES |
Caprimulgidae |
นกตบยุงหางยาว |
Caprimulgus macrurus |
CHARADRIIFORMES |
Charadriidae |
นกหัวโตทรายใหญ่ |
Charadrius leschenaultii |
|
นกหัวโตทรายเล็ก |
Charadrius mongolus |
|
|
|
นกหัวโตหลังจุดสีทอง |
Pluvialis fulva |
|
|
นกหัวโตสีเทา |
Pluvialis squatarola |
|
|
นกกระแตแต้แว้ด |
Vanellus indicus |
|
Glareolidae |
นกแอ่นทุ่งใหญ่ |
Glareola maldivarum |
|
Laridae |
นกนางนวลแกลบเคราขาว |
Chlidonias hybrida |
|
|
นกนางนวลธรรมดา |
Chroicocephalus brunnicephalus |
|
|
นกนางนวลแกลบแคสเปียน |
Hydroprogne caspia |
|
|
นกนางนวลแกลบปากหนา |
Gelochelidon nilotica |
|
|
นกนางนวลแกลบธรรมดา |
Sterna hirundo |
|
|
นกนางนวลแกลบท้ายทอยดำ |
Sterna sumatrana |
|
|
นกนางนวลแกลบเล็ก |
Sternula albifrons |
|
Recurvirostridae |
นกตีนเทียน |
Himantopus himantopus |
|
Scolopacidae |
นกเด้าดิน |
Actitis hypoleucos |
|
|
นกพลิกหิน |
Arenaria interpres |
|
|
นกปากแอ่นหางลาย |
Limosa lapponica |
|
|
นกปากแอ่นหางดำ |
Limosa melanuroides |
|
|
นกอีก๋อยเล็ก |
Numenius phaeopus |
|
|
นกชายเลนน้ำจืด |
Tringa glareola |
|
|
นกทะเลขาเขียวลายจุด |
Tringa guttifer |
|
|
นกชายเลนบึง |
Tringa stagnatilis |
|
|
นกทะเลขาแดงธรรมดา |
Tringa totanus |
CICONIIFORMES |
Ciconiidae |
นกปากห่าง |
Anastomus oscitans |
COLUMBIFORMES |
Columbidae |
นกพิราบป่า |
Columba livia |
|
|
นกเขาชวา |
Geopelia striata |
|
|
นกเขาใหญ่ |
Spilopelia chinensis |
|
|
นกเขาไฟ |
Streptopelia tranquebarica |
|
|
นกเปล้าคอสีม่วง |
Treron vernans |
CORACIIFORMES |
Alcedinidae |
นกกะเต็นน้อยธรรมดา |
Alcedo atthis |
|
|
นกกะเต็นหัวดำ |
Halcyon pileata |
|
|
นกกะเต็นอกขาว |
Halcyon smyrnensis |
|
|
นกกะเต็นใหญ่ปีกสีน้ำตาล |
Pelargopsis amauroptera |
|
|
นกกะเต็นใหญ่ธรรมดา |
Pelargopsis capensis |
|
|
นกกินเปี้ยว |
Todiramphus chloris |
|
Coraciidae |
นกตะขาบทุ่ง |
Coracias benghalensis |
|
|
นกตะขาบดง |
Eurystomus orientalis |
|
Meropidae |
นกจาบคาหัวสีส้ม |
Merops leschenaulti |
|
|
นกจาบคาเล็ก |
Merops orientalis |
|
|
นกจาบคาหัวเขียว |
Merops philippinus |
|
|
นกจาบคาคอสีฟ้า |
Merops viridis |
CUCULIFORMES |
Cuculidae |
นกอีวาบตั๊กแตน |
Cacomantis merulinus |
|
|
นกกะปูดใหญ่ |
Centropus sinensis |
|
|
นกกาเหว่า |
Eudynamys scolopaceus |
|
|
นกบั้งรอกใหญ่ |
Phaenicophaeus tristis |
GRUIFORMES |
Rallidae |
นกกวัก |
Amaurornis phoenicurus |
PASSERIFORMES |
Acanthizidae |
นกกระจ้อยป่าโกงกาง |
Gerygone sulphurea |
|
Aegithinidae |
นกขมิ้นน้อยธรรมดา |
Aegithina tiphia |
|
Artamidae |
นกแอ่นพง |
Artamus fuscus |
|
Cisticolidae |
นกกระจิบคอดำ |
Orthotomus atrogularis |
|
|
นกกระจิบธรรมดา |
Orthotomus sutorius |
|
Corvidae |
อีกา |
Corvus macrorhynchos |
|
Campephagidae |
นกพญาไฟเล็ก |
Pericrocotus cinnamomeus |
|
Dicaeidae |
นกสีชมพูสวน |
Dicaeum cruentatum |
|
Dicruridae |
นกแซงแซวสีเทา |
Dicrurus leucophaeus |
|
|
นกแซงแซวหางปลา |
Dicrurus macrocercus |
|
|
นกแซงแซวหางบ่วงใหญ่ |
Dicrurus paradiseus |
|
Estrildidae |
นกกระติ๊ดสีอิฐ |
Lonchura atricapilla |
|
|
นกกระติ๊ดขี้หมู |
Lonchura punctulata |
|
Eurylaimidae |
นกพญาปากกว้างท้องแดง |
Cymbirhynchus macrorhynchos |
|
|
นกนางแอ่นท้องแดง |
Cecropis badia |
|
|
นกนางแอ่นบ้าน |
Hirundo rustica |
|
|
นกนางแอ่นแปซิฟิค |
Hirundo tahitica |
|
Laniidae |
นกอีเสือสีน้ำตาล |
Lanius cristatus |
|
Motacillidae |
นกเด้าดินทุ่งเล็ก |
Anthus rufulus |
|
|
นกเด้าลมหลังเทา |
Motacilla cinerea |
|
|
นกเด้าลมเหลือง |
Motacilla tschutschensis |
|
Muscicapidae |
นกกางเขนบ้าน |
Copsychus saularis |
|
|
นกจับแมลงสีน้ำตาล |
Muscicapa dauurica |
|
Nectariniidae |
นกกินปลีคอสีน้ำตาล |
Anthreptes malacensis |
|
|
นกกินปลีคอสีน้ำตาลแดง |
Anthreptes rhodolaemus |
|
|
นกกินปลีอกเหลือง |
Cinnyris jugularis |
|
Passeridae |
นกกระจอกใหญ่ |
Passer domesticus |
|
|
นกกระจอกบ้าน |
Passer montanus |
|
Phylloscopidae |
นกกระจิ๊ดธรรมดา |
Phylloscopus inornatus |
|
Pycnonotidae |
นกปรอดหัวสีเขม่า |
Pycnonotus aurigaster |
|
|
นกปรอดสวน |
Pycnonotus blanfordi |
|
|
นกปรอดหน้านวล |
Pycnonotus goiavier |
|
Rhipiduridae |
นกอีแพรดแถบอกดำ |
Rhipidura javanica |
|
Sturnidae |
นกเอี้ยงควาย |
Acridotheres fuscus |
|
|
นกเอี้ยงหงอน |
Acridotheres grandis |
|
|
นกเอี้ยงสาริกา |
Acridotheres tristis |
|
|
เอี้ยงด่าง |
Gracupica contra |
|
|
นกเอี้ยงดำปักษ์ใต้ |
Aplonis panayensis |
|
Zosteropidae |
นกแว่นตาขาวสีทอง |
Zosterops palpebrosus |
PELECANIFORMES |
Ardeidae |
นกยางโทนใหญ่ |
Ardea alba |
|
|
นกยางโทนน้อย |
Ardea intermedia |
|
|
นกกระสานวล |
Ardea cinerea |
|
|
นกกระสาแดง |
Ardea purpurea |
|
|
นกยางกรอกพันธุ์จีน |
Ardeola bacchus |
|
|
นกยางควาย |
Bubulcus coromandus |
|
|
นกยางเขียว |
Butorides striata |
|
|
นกยางเปีย |
Egretta garzetta |
|
|
นกยางทะเล |
Egretta sacra |
PICIFORMES |
Megalaimidae |
นกติ๊ดใหญ่ |
Parus major |
|
|
นกโพระดกธรรมดา |
Psilopogon lineatus |
|
|
นกตีทอง |
Psilopogon haemacephalus |
PODICEPEDIFORMES |
Podicipedidae |
นกเป็ดผีเล็ก |
Tachybaptus ruficollis |
|
|
นกกาน้ำเล็ก |
Microcarbo niger |
อ้างอิง:
สำนักอนุรักษ์ทรัพยากรป่าชายเลน. (2561). สัตว์ในป่าชายเลน. ค้นเมื่อ 24 กุมภาพันธ์ 2564, จาก https://km.dmcr.go.th/th/c_11/d_19088.
ปิยรัตน์ วงศ์อรินทร์. (2532). นกในบริเวณป่าชายเลนและพื้นที่ใกล้เคียง ในจังหวัดกระบี่. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. 100 หน้า.