พันธุ์ไม้ป่าชายเลนในประเทศไทยมีทั้งสิ้น 81 ชนิด เป็นไม้ป่าชายเลนที่แท้จริง (true mangrove) จำนวน 34 ชนิด ขึ้นเฉพาะบริเวณที่เป็นน้ำเค็มหรือน้ำกร่อย ส่วนอีก 47 ชนิด เป็นไม้ป่าชายเลนที่ปรับตัวเข้ากับสภาพความเค็มได้ (mangrove associated species) เพื่อให้ขึ้นอยู่ได้ในที่ซึ่งมีน้ำทะเลท่วมถึง ทั้งนี้แอดมินได้มีการถ่ายภาพพันธุ์ไม้ป่าชายเลนเก็บรวมรวม มานับ10 ปี ได้ภาพพันธุ์ไม้หลายชนิด จึงนำมาเผยแพร่เป็นข้อมูลความรู้ เพื่อเป็นประโยชน์แก่ผู้ที่สนใจต่อไป
กระเพาะปลา (Finlaysonia maritima Back.)
เป็นไม้เถาเนื้อแข็ง มียางสีขาว ลำต้นเกลี้ยง เถาและใบมีสีเขียวอ่อน ถึงสีแดงอมม่วง
โกงกางใบเล็ก (Rhizophora apiculata Bl.)
ชื่ออื่น : โกงกาง(ระนอง) ; พังกาใบเล็ก(พังงา) ; พังกาทราย(กระบี่)
เป็นไม้ไม่ผลัดใบขนาดกลาง - ใหญ่ สูง 20-40 เมตร เปลือกสีเทาดำ ผิวเปลือกเรียบแตกเป็นร่องลึกตามยาวของลำต้น เด่นชัดกว่าร่องตามขวาง เมื่อทุบเปลือกทิ้งไว้สักครู่จะพบว่าด้านในของเปลือกเป็นสีแสดอมแดง เรือนยอดแคบรูปพีระมิด รอบๆ บริเวณโคนต้นมีรากค้ำจุน ทำหน้าที่พยุงลำต้น และมักมีรากอากาศซึ่งเกิดจากกิ่งตอนบนเป็นจำนวนมาก
โกงกางใบใหญ่ (Rhizophora mucronata Poir.)
ชื่ออื่น : กงกอน(ชุมพร ; กงกางนอก(เพชรบุรี) ; กงเกง(นครปฐม)
เป็นไม้ไม่ผลัดใบที่มีขนาดใหญ่ สูง 30-40 เมตร เปลือกหยาบสีเทาถึงดำ แตกเป็นร่องทั้งตามยาวและตามขวาง หรือแตกเป็นร่องตารางสี่เหลี่ยม หากทุบเปลือกทิ้งไว้สักครู่ ด้านในของเปลือกจะเป็นสีเหลืองถึงส้ม รอบๆโคนต้นมีรากค้ำจุน ทำหน้าที่พยุงลำต้น บางครั้งพบว่ามีรากอากาศที่งอกจากกิ่งอยู่บ้าง แต่ไม่มากนัก
ขลู่ (Pluchea indica (L.) Less.
ชื่ออื่น : ขลู(ใต้) ; หนวดงิ้ว, หนวดงั่ว, หนวดวัว, หนวดงัว(อุดรธานี) ; หล่วงไซ (จีนแต้จิ๋ว) ;หลวงซี(จีน)
เป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก พุ่มตั้งตรงขึ้นอยู่รวมกันเป็นกอ แตกกิ่งก้านมาก สูง 1-1.5 เมตร มีขนเล้กละเอียดปกคลุมตามกิ่ง
แคทะเล (Dolichandrone spathacea Schum.)
ชื่ออื่นๆ ; แคน้ำ, แคนา, แคป่า (กลาง), แค่ตุ้ย, แคฝา, แคปี่ฮ่อ, แคเหนแห้(เหนือ)
เป็นไม้ยื่นต้นขนาดเล็ก ไม่ผลัดใบ สูง 4-10 เมตร แตกกิ่งก้านน้อยเรือนยอดแผ่กว้าง แต่ละส่วนเมื่อแห้งจะเปลี่ยนเป็นสีดำ เปลือกสีเทาเรียบ หรือแตกเป็นร่องตื้นๆ มีช่องอากาศตามลำต้น
โคลงเคลงขน (Melastoma saigonense (Kuntse) Merr.)
ชื่ออื่น : ม่ายะ (ตราด) ; เอ็นอ้า (อุบลราชธานี)
เป็นไม้พุ่มสูง 1-2 เมตร แตกกิ่งมาก ทรงพุ่ม แน่นทึบ กิ่งมีสีคล้ายๆราสนิม และมีขนปกคลุม
งาไซ (Pouteria obovata(R.Br.) Baehni)
ชื่ออื่นๆ : โกงกางบก (ชลบุรี) ; โพอาศัย, จันฆิตสง(ภาคกลาง) ; ทีไร (ปัตตานี); พังกาบก (ภาคใต้) ; มะดินทราย (สงขลา); อุ้งไก่ (สมุทรปราการ)
เป็นไม้ต้นไม่ผลัดใบ ขนาดเล็ก-กลาง สูง ๕-๑๕ เมตร เรือนยอดเป็นพุ่มกลม แน่นทึบ สีทองแดงหรือเป็นรูปเจดีย์ต่ำๆ โคนต้นเป็นพูพอนตื้น เปลือกสีน้ำตาลอมเขียว เรียบึงแตกเป็นร่องตามยาว หรือล่อนเป็นสะเก็ด เปลือกในสีชมพูอ่อน มียางข้นสีขาว แล้วเปลี่ยนเป็นสีขาวอมเหลือง กิ่งอ่อน ตา ก้านใบ และส่วนอื่นๆ ที่ยังอ่อน มีขนหรือเกล็ดสีน้ำตาลแดง หรือน้ำตาลทองปกคลุม
จาก (Nypa fruticans Wurmb.)
ชื่ออื่น : อัตต๊ะ (มลายู-ใต้)
เป็นไม้จำพวกปาล์ม มีขนาดเล็ก ลำต้นเป็นเหง้าอยู่ใต้ดิน มีรากอวบอ้วนแน่นบริเวณกอ เหง้ามีลักษณะคล้ายฟองน้ำ มักจะจมอยู่ในโคลน และอยู่ใต้น้ำขณะน้ำท่วม
ชะคราม (Suaeda martima Roxb.)
ชื่ออื่น : ชักคราม (กลาง) ; ส่าคราม (สมุทรสาคร)
เป็นไม้ล้มลุกที่มีอายุหลายปี เมื่ออายุมากขึ้นจะพัฒนาจนลำต้นมีเนื้อไม้ ขึ้นเป็นพุ่มขนาดเล็ก สูงประมาณ ๑ เมตร ลำต้นเดี่ยว ทรงพุ่ม แผ่กระจาย แตกกิ่งก้านตั้งแต่โคนต้น มักมีรากงอกบริเวณข้อในระดับต่ำ ลำต้นแก่มีผิวหยาบจากรอยแผลที่เกิดจากใบที่ร่วงหล่นไปแล้ว
ช้าเลือด (Premna obtusifolia R. Br.)
ชื่ออื่น : มันไก่ (ลำปาง) ; สามประงาใบ (ประจวบ) ; อัคคีทวารทะเล, เค็ดน้ำมัน (ใต้)
เป็นไม้พุ่มกิ่งเลื้อย สูง ๑-๔ เมตร แตกกิ่งมาก กิ่งอ่อนในระยะแรกๆมีขนประปราย และจะหลุดร่วงในเมื่อกิ่งแก่ขึ้น เมื่อขยี้ใบจะมีกลิ่นเหม็น
แดงน้ำ (Aglaia cucullata Roxb.)
ชื่ออื่น : ตาเสือ, โกล (กลาง) ; เช่ (แม่ฮ่องสอน)
เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก - กลาง อาจสูงถึง ๑๘ เมตร ไม่ผลัดใบ เปลือกเรียบ สีชมพูอมเทา มีรากหายใจรูปคล้ายหมุด ยาว ๓๐-๕๐ ซม. จากผิวดิน หนาแน่นบริเวณโคนต้น
ต่อไส้ (Allophyllus cobbe (Linn.) Bl.)
ชื่ออื่น : เสียบไส้ (ตรัง)
เป็นไม้พุ่ม ลำต้นตั้งตรง สูง ๑-๔ เมตร
ตะบูนขาว (Xylocarpus granatum Koen.)
ชื่ออื่น : กระบูน, กระบูนขาว, ตะบูน(กลาง,ใต้)
เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก - กลาง สูง ๘-๒๐ ซม. ไมม่ผลัดใบ ลำต้นสั้น แตกกิ่งใต้โคนต้น มีพูพอนแผ่ออกคดเคี้ยว ต่อเนื่องกับรากหายใจที่แบนคล้ายแผ่นกระดาษ เปลือกเรียบบางสีเหลือง แต้มเขียวอ่อน ถึงน้ำตาลแกมชมพู ลักษณะคล้ายเปลือกต้นฝรั่ง หรือตะแบก เปลือกหลุดออกเป็นแผ่น รูปทรงไม่แน่นอน คล้ายเปลือกของต้นฝรั่งหรือตะแบก
ตะบูนดำ (Xylocarpus moluccensis Roem.)
ชื่ออื่น : ตะบูน, ตะบัน (กลาง,ใต้)
เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ สูง ๒๐ - ๓๐ ซม. ผลัดใบ ลำต้นเปลาตรง โคนต้นมีพูพอน เล็กน้อย เรือนยอดเป็นพุ่มกลม เปลือกขรุขระสีน้ำตาลเข้ม แตกเป็นร่องตามยาว ต้นแก่เปลือกลอกเป็นแถบแคบๆ เปลือกหนาประมาณ ๐.๓-๐.๕ ซม. เนื้อไม้สีน้ำตาลมีรากหายใจ รูปคล้ายกรวยคว่ำ กลม หรือแบน ปลายมนยาว ๒๐ - ๔๐ ซม. จากผิวดิน
ตาตุ่มทะเล (Excoecaria agallocha L.)
ชื่ออื่น : ตาตุ่ม(กลาง) ; บูตอ (มลายู-ปัตตานี)
เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบ ขนาดเล็ก-กลาง สูง ๑๐-๑๘ เมตร มียางสีีขาวมาก ส่วนมากลำต้นจะตรง มักแตกกิ่งในระดับต่ำ บางครั้่งดูคล้ายไม้พุ่ม เปลือกเรียบถึงแตกเป็นร่องสีน้ำตาลอ่อน หรือน้ำตาลเทา กิ่งอ่อนมีช่องอากาศเล็กๆ เด่นชัด รากหายใจแผ่กระจายไปตามผิวดิน
ตีนเป็ดทะเล (Cerbera odollam Gaerther)
ชื่ออื่น : สั่งลา (กระบี่) ; ตีนเป็ด, ตีนเป็ดน้ำ (กลาง) ; ตุม (กาญจนบุรี)
เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก สูง ๖-๑๒ เมตร ลำต้นมักแตกกิ่งต่ำ เรือนยอดแผ่กว้าง เปลือกเรียบสีเทา มีช่องอากาศกระจายทั่วไป เปลือกชั้นในสีเหลืองอ่อน มียางสีขาว
เตยทะเล (Pandanus odoratissimus L.f.)
ชื่ออื่น : ลำเจียก, การะเกด (กลาง) ; ปาแนะ (มลายู-นราธิวาส)
เป็นไม้ยืนต้น สูง ๔-๘ เมตร ลำต้นมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง ๘-๒๐ ซม. ตั้้งตรง หรือเอนชูยอดขึ้น ลำต้นมักแตกแยกออกเป็นสองหรือสามกิ่ง ที่ลำต้นและกิ่งมักมีหนาม ลำต้นสีีขาวน้ำตาลอ่อนๆ มีรากค้ำจุนที่โคนต้น
ถอบแถบน้ำ (Derris trifoliata Lour.)
ชื่ออื่น : แควบทะเล, ถอบแถบทะเล, ผักแถบ (กลาง) ; ทับแถบ (สมุทรสงคราม) ; ถั่วน้ำ (นราธิวาส)
เป็นไม้เถา ลำต้นมักเลื้อยทอดไปตามพื้นดิน ยาว ๕-๑๐ เมตร กิ่งเรียวยาว
ถั่วขาว (Bruguiera cylindrica (L.) Blume)
ชื่ออื่น : ถั่วแดง, ประสักขาว (จันทบุรี) ; โปรง, โปรย (มลายู-ใต้) ; ปรุ้ย (มลายู-สตูล) ; ลุ่ย (เพชรบุรี)
เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก - กลาง สูง ๘-๑๕ เมตร พูพอนน้อย แต่บริเวณโคนต้นพองขยายออก เรือนยอดแน่นทึบรูปพีระมิด เปลือกสีเทา หรือน้ำตาล เรียบ ถึงหบาบเล็กน้อย ตามลำต้นมีช่องอากาศ กิ่งอ่อนสีเขียว มีรากาหายใจรูปคล้ายเข่า ยาว ๑๕-๒๐ ซม. เหนือผิวดิน
ถั่วดำ (Bruguiera parviflora Wight&Arn.ex Griff.)
ชื่ออื่น : ถั่วทะเล (ระนอง) ; รักกะแท้ (ใต้) ; ลังกะได, นังกะได (มลายู-ใต้)
เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก - กลาง สูง ๑๐-๒๐ เมตร โคนต้นมีพูพอน ผิวเปลือกบริเวณโคนต้นมีจุดสีขาวแต้ม เรือนยอดแคบกลม รูปพีระมิด สีเขียวอมเหลือง รากหายในยาว ๑๕-๒ๆ ซม. เหนือผิวดิน เปลือกสีเทา หรือน้ำตาลเข้ม เรียบถึงแตกเป็นเกล็ด มีช่องอากาศเล็กๆ ไม่เด่นชัด
เทพี (Caesalpinia crista L.)
ชื่ออื่น : ฆอระแอ (มลายู-นราธิวาส) ; เล็บเหยี่ยว
เป็นไม้เถาว์เลื้อย สูง ๓-๕ เมตร ลำต้น กิ่งและก้านใบมีหนามคล้ายกับหนามกุหลาบ
ไทรย้อยใบทู่ (Ficus microcapa Linn.f.)
ชื่ออื่น : ไทรย้อย (นครศรีฯ), ไทรหิน (ชุมพร), ไฮรี (เพชรบูรณ์)
เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ สูง ๑๕-๒๕ เมตร มีรากอากาศอยู่ตามกิ่งไม้ เป็นเส้นเรียงยาวจำนวนมาก เปลือกสีเทา
น้ำนอง (Brownlowia tersa (L.) Kosterm.
เป็นไม้พุ่มสูง ๑.๕-๔ เมตร เปลือกเหนียวคล้ายเชือก
เบญจมาศน้ำเค็ม (Wedelia biflora (L.) DC)
ชื่ออื่น : ผักคราดทะเล (กรุงเทพมหานคร)
เป็นไม้พุ่มกิ่งเลื้อย มีกิ่งมาก มักแผ่ทอดยอดคลุมพื้นดิน ยาว ๑-๕ เมตร กิ่ง ใบ และช่อดอก มีขนสั้นสีขาว สากมือ
ใบพาย (Aegialitis rotundifolia Roxb.)
ชื่ออื่น : แสม
เป็นไม้พุ่มไม่ผลัดใบ สูง ๑-๒ เมตร ลำต้นทรงพีระมิด เปลือกสีน้ำตาลเรียบ แตกกิ่งมาก เรือนยอดเป็นพุ่ม รูปกรวย ฐานกว้าง มีรากหายใจคล้ายนิ้วมือ กระจายอยู่รอบโคนต้น
ปรงทะเล (Acrotichum aureum L.)
ชื่ออื่น : ปรงทอง, ปรงไข่, ปรงใหญ่, บีโย(มลายู-สตูล)
เป็นพืชพวกเฟิร์น มีลำต้นเป็นเหง้าอยู่ใต้ดิน ชูส่วนของใบขึ้นมาเป็นกอ ที่เหง้ามีเกล็ดใหญ่สีน้ำตาลคล้ำ โคนต้นมีรากค้ำยัน
ปรงหนู (Acrotichum speciosum Willd.)
ชื่ออื่น : ปรง (ตราด)
มีลักษณะคล้ายกับปรงทะเล แต่ส่วนมากจะขึ้นแยกเป็นต้น น้อยครั้งที่พบขึ้นเป็นกลุ่ม
ปอทะเล (Hibiscus tiliacius L.)
ชื่ออื่น : โพทะเล(กรุงเทพฯ); บา (จันทบุรี); ผีหยิก, ขมิ้นรางมัทรี (เลย); ปอฝ้าย, ปอนา, ปอมุก (ใต้) ; ปอโฮ่งบารู (มลายู-นราธิวาส)
เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก สูง ๓-๑๐ เมตร เรือนยอดแผ่กว้าง ลำต้นมักคดงอ แตกกิ่งมาก เปลือกสีเทา หรือน้ำตาลอ่อน เรียบหรือแตกเป็นร่องตื้นๆ เปลือกชั้นในสีชมพูประขาว เหนียว สามารถลอกออกจากเปลือกลำต้นได้ง่าย
เป้งทะเล (Phoenix paludosa Roxb.)
ชื่ออื่น : เป้ง
เป้็นพวกปาล์ม มีลำต้นรูปทรงกระบอก สูง ๔-๑๐ เมตร เส้นผ่านศูนย์กลาง ๕-๙ เซนติเมตร มีใบหนาแน่นเป็นกลุ่ม ส่วนบนของลำต้นมีก้านใบซึ่งมีนหนามติดอยู่ และมีกาบซึ่งเป็นเส้นใยสีเทาหุ้ม
โปรงขาว (Ceriops decandra Ding Hou)
ชื่ออื่น : โปรง, ปรงหนู, ปะโลง, โหลง (กลาง) ; กระปูโลง, โปลง, โปรง (เพชรบุรี) ; แหม (ภูเก็ต) ; แสมมาเนาะ (สตูล)
เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็กกิ่งไม้พุ่มิสูง ๒-๗ เมตร โคนต้นมีพูพอนพองเล็กน้อย ขยายออก รากหายใจรูปคล้ายเข่า อ้วน สั้น กลม ยาว ๖-๑๓ เซนติเมตร เหือผิวดิน เรือนยอดกลม แน่นทึก เปลือกสีเทาอ่อน เรียบ ถึงแตกเป็นสะเก็ด ช่องอากาศสีน้ำตาลอมชมพู
โปรงแดง (Ceriops tagal (Perr.) C. B. Rob.
ชื่ออื่น : โปรง, โปรงใหญ่ ; ปรง (สมุทรสาคร, จันทบุรี) ; แสม (ใต้)
เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก - กลาง สูง ๗-๑๕ เมตร โคนต้นมีพูพอนเล็กน้อย มีรากค้ำจุนขนาดเล็ก รากหายใจรูปคล้ายเข่า อ้วน กลม สีเข้ม กิ่งสีเขียว มีช่องอากาศเล็กๆ เปลือกสีชมพูเรื่อๆหรือน้ำตาลอ่อน เรียบ ถึงแตกเป็นสะเก็ด ต้นแก่มีรอยแผลเป็น ช่องอากาศเห็นเด่นชัด สีน้ำตาลอ่อน
ฝาดดอกขาว (Lumnitzera racemosa Willd.)
ชื่ออื่น : ฝาด (กลาง,ใต้) ; ขวาด (สมุทรสาคร) ; กะลูง (ชุมพร)
เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก สูง ๘ เมตร เปลือกขรุขระสีน้ำตาลแดง มีรากหายใจไม่เด่นชัด
ฝาดดอกแดง (Lumnitzera littorea Voigt)
ชื่ออื่น : ตำเสาทะเล (พัังงา, กระบี่, ตรัง )
เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง - ใหญ่ อาจสูงถึง ๓๐ เมตร เปลือกสีน้ำตาล มีรอยแตกเป็นร่องลึก เปลือกในสีแดงเข้ม หรือสีส้ม มีรายหายใจรูปคล้ายเข่า
พังกาหัวสุมดอกขาว (Bruguiera sexangula (Lour) Poir.)
ชื่ออื่น : ขลัก (ชุมพร) ; พังกาหัวสุม (กระบี่,ตรัง) ; ประสักขาว, ประสักหนู
เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ สูง ๒๐-๓๐ เมตร โคนต้นมีพูพอนสูง รากหายใจรูปคคล้ายเข่า มีรากค้ำจุนขนาดเล็ก กิ่งอ่อนสีเขียว บางครั้งเหมือนถูกย้อมด้วยสีแดง เปลือกสีเทาเข้มถึงสีน้ำตาลอมเทา ผิวเปลือกหยาบ เป็นสะเก็ด แตกเป็นร่องตามยาว ช่องอากาศขนาดใหญ่ มีน้อย มีเฉพาะที่พูพอน
พังกาหัวสุมดอกแดง (Bruguiera gymnorrhiza (L.) Savigny)
ชื่ออื่น : ประสัก, ประสักแดง, โกงกางหัวสุม, พังกาหัวสุม (กลาง) ; พลัก
เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ สูง ๒๕-๓๕ เมตร เรือนยอดเป็นพุ่มกลมทึบ โคนต้นมีพูพอนสูงและมีช่องอากาศขนาดใหญ่อยู่ทั่วไป มีรากหายใจคล้ายหัวเข่า เปลือกหยาบสีน้ำดำ ถึงดำ แตกเป็นร่องตามยาวไม่เป็นระเบียบ
โพทะเล (ก้านสั้น) (Thespesia populnea (L.) Soland. Ex Correa)
ชื่ออื่น : ปอกะหมัดไพร (ราชบุรี) ; ปอมัดไซ (เพชรบุรี) ; บากู (ปัตตานี, มลายู-นราธิวาส)
เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก สูง ๘-๑๒ เมตร ลำต้นโค้ง แตกกิ่งในระดับต่ำ เรือนยอดแผ่กว้าง ค่อนข้างหนาทึบ เปลือกเรียบ สีเทาอ่อนหรือขรุขระ มีรอยแตกตามยาวเป็นร่องลึก
มะคะ (Cynometra ramiflora L.)
ชื่ออื่น : แมงคะ (ตราด) ; มังคะ, พังคะ (กลาง) ; พังค่า (ตรัง) ; มะคาก (ใต้)
เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง - ใหญ่ สูง ๘ - ๓๐ เมตร เรือนยอดเป็นพุ่มกว้าง ลำต้นเหลาตรง บางครั้งมีพูพอนเปลือกสีน้ำตาลเทา ขรุขระ เปลือกชั้นในสีน้ำตาล ถึงน้ำตาลแกมชมพู
มะนาวผี(ผลเหลี่ยม) (Merope angulata (Kurz) Swingle)
เป็นไม้พุ่มหนาม สูง ๒-๓ เมตร มีหนามเกิดตามลำต้น ยาว ๑-๓ เซนติเมตร เกิดขึ้นเป็นคู่บนกิ่ง
มะพลับ (Dyospyros areolata King&Gamble)
ชื่ออื่น : พลับ (กลาง)
เป็นไม้ยืนต้นไม่ผลัดใบ ขนาดเล็ก สูง ๕-๑๒ เมตร เรือนยอดรูปกรวยคว่ำ เปลือกสีน้ำตาลเทา ถึงคล้ำ เรียบ หรือเป็นสะเก็ดและหลุมตื้นๆ เปลือกชั้นในสีน้ำตาล
มังคะ (Cynometra iripa Kostel.)
ชื่ออื่น : กาต๋ง
เป็นไม้พุ่มสูง ๒-๖ เมตร เรือนยอดแผ่กว้าง แตกกิ่งแขนงเรียวยาว ลำต้นสีเทาอมเขียว มีสีขาวแต้ม
รักทะเล (Scaevola taccada (Gaertner.) Roxb.)
ชื่ออื่น : โหรา (ตราด) ; บ่งบง (ใต้) ; บงบ๊ง (มลายู - ภูเก็ต)
เป็นไม้พุ่ม ลำต้นตั้งตรง หรือแผ่ไม่เป็นระเบียบ มียางมาก สีขาว ลำต้นมีใส้ไม้
รามใหญ่ (Ardisia elliptica Thunb.)
ชื่ออื่น : ลังพิสา (ตราด) ; ทุลังกาสา (ชุมพร) ; ปือนา (มลายู - นราธิวาส)
เป็นไม้พุ่ม สูง ๓-๕ เมตร กิ่งอ่อนสีแดงอมน้ำตาล
ลำเท็ง (Stenochlaena palustris (Burm.f.) Bedd.)
ชื่ออื่น : ปรงสวย, ผักยอดแดง, ผักกูดแดง, ผักกูดมอญ (กลาง) ; ลำมะเท็ง (ประจวบฯ, นครรราชสีมา) ; ปากุ๊มะดิง (มลายูใต้)
เป็นพืชพวกเฟิร์น ลำต้นยาว แตกกิ่งแยกแขนงเลื้อยคลุมพื้นดิน และพืชอื่นๆ มีรากเกิดที่ลำต้น สำหรับใช้ยึดเกาะต้นไม้อื่น
ลำพู (Sonneratia caseolaris (L.) Engl.)
เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง - ใหญ่ สูง ๘ - ๒๐ เมตร ไม่ผลัดใบ กิ่งห้อยย้อยลง ต้นที่อายุน้อยเปลือกเรียบ แต่เมื่ออายุมากขึ้น เปลือกจะหยาบ แตกเป็นร่องลึก เป็นสะเก็ด รากหายใจยาว ๗๐ เซนติเมตร หรือยาวกว่า เส้นผ่านศูนย์กลางที่โคนราก ๔-๕ เซนติเมตร เรียวแหลมไปทางปลายราก
ลำพูทะเล (Sonneratia alba J. Smith)
ชื่ออื่น : ลำแพน, ลำแพนทะเล (กลาง) ; ปาด (พังงา, ภูเก็ต) ; รำป๊าด (สตูล)
เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง สูง ๖-๑๕ เมตร ไมม่ผลัดใบ แตกกิ่งในระดับต่ำ เปลือกสีน้ำตาล อมชมพู หรือสีเทา แตกเป็นสะเก็ดเล็กน้อย รากหายใจตั้งตรง รูปกรวยคว่ำยาว ๒๐-๔๐ เซนติเมตร เหนือผิวดิน โคนรากหนา เรียวแหลมไปทางปลาย มักเป็นสะเก็ดสี่นำ้ตาลอมชมพู
ลำแพน (Sonneratia ovata Backer)
เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก - กลาง สูง ๔-๑๒ เมตร กิ่งเป็นรูปสี่เหลี่ยมเปราะ รากหายใจรูปคล้ายหมุด ยาว ๑๕-๓๐ เซนติเมตร เหนือผิวดิน
ลำแพนหิน (Sonneratia griffithii Kurz)
ชื่ออื่น : ลำพู (พังงา) ; ลำแพน (สตูล) ; ลำแพนทะเล
เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ อาจสูงถึง ๒๕ เมตร ต้นที่แก่มากๆ มักเป็นโพรงที่โค้นต้น เปลือกเรียบสีน้ำตาลอ่อน รากหายใจอ้วนสั้น รูปกรวยคว่ำ ยาว ๓๐-๔๐ เซนติเมตร เหนือผิวดิน
เล็บมือนาง (Aegiceras corniculatum (L.) Blanco)
ชื่ออื่น : เล็บมือนาง (สตูล) ; แสมแดง (ชุมพร) ; แสมทะเล (ปัตตานี) ; ลำพู (ตราด)
เป็นไม้พุ่ม ไม่ผลัดใบ สูง ๓-๗ เมตร แตกกิ่งในระดับต่ำใกล้โคนต้น มีพูพอน เล็กน้อย เปลือกเรียบ สีเทาเข้ม ถึงสีน้ำตาลแดง
สารภีทะเล (Calophyllum inophyllum L.)
ชื่ออื่น : กระทิง, กากะทิง (กลาง) ; ทิง (กระบี่) ; เนาวกาน (น่าน) ; สารภีแนน (เหนือ)
เป็นไม้ยืนต้นขนาด กลาง - ใหญ่ สูง ๕-๑๗ เมตร ไม่ผลัดใบ ไม่มีพูพอน เปลือกสีน้ำตาลถึงสีเทาค่อนข้างเข้ม มีรอยแตกเป็นร่องลึก มีน้ำยางเหนียว สีขาว ถึงเหลือง กึ่งค่อนข้างเป็นรูปเหลี่ยม
สักขี (Dalbergia candenatensis (Dennst.) Prain)
ชื่ออื่น : ย่านมันเปรียง
เป็นไม้พุ่มรอเลื้อย ขึ้นคลุมไม้อื่น สูง ๓-๕ เมตร
สำมะง่า (Clerodendrum inerme (L.) Gaertner.
ชื่ออื่น : สำลีงา, สำมะลีงา (กลาง, ตะวันออก) ; เขี้ยวงู (ประจวบฯ) ; ส้มเนรา (ระนอง) ; สักขรีย่าน (ชุมพร) ; สำปันงา (สตูล)
เป็นไม้พุ่มรอเลื้อย ๑-๒ เมตร ลำต้นทอดนอน แผ่กระจัดกระจายโดยรอบ มีขนนุ่มปกคลุมตามส่วนอ่อนๆทั้งหมด
สีง้ำ (Scyphiphora hydrophyllacea Gaertn. f.)
ชื่ออื่น : จีง้ำ (กรุงเทพฯ) ; ซีฮำ (มลายู - ภูเก็ต, สตูล) ; รังแค (ชุมพร) ; ซีง้ำ (ตรัง)
เป็นไม้พุ่ม สูง ๑.๕ - ๔ เมตร เปลือกบาง สีเหลือง ถึงเทา
เสม็ดขาว (Melaleuca cajuputi Powell)
ชื่ออื่น : เสม็ด (กลาง) ; เม็ด, เหม็ด (ใต้)
เป็นไม้ขนาดเล็ก - ใหญ่ สูง ๕-๒๕ เมตร ไม่ผลัดใบ เรือนยอดแผ่กว้าง ลำต้นมักบิด เปลือกสีขาวถึงน้ำตาลเทา เป็นแผ่นบางๆ ซ้อนกันเป็นปึก หนา นุ่ม เปลือกชั้นในบาง สีน้ำตาล ยอดอ่อน มีขนสีขาว เป็นมันคล้ายเส้นไหม
แสมขาว (Avicennia alba Bl.)
ชื่ออื่น : พีพีเล (ตรัง) ; แหม, แหมเล (ใต้)
เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง - ใหญ่ สูง ๘-๒๐ เมตร ไม่มีพูดพอน ลำต้นแตกกิ่งระดับต่ำ เรือนยอดค่อนข้างกลม แผ่กว้างหนาทึบ กิ่งห้อยลง เปลือกเรียบ สีเทาถึงดำ มักจะมีสีสนิมเกิดจากเชื้อรา ติดตามกิ่งและผิวของลำต้น มีรากหายใจรูปคล้ายดินสอยาว ๑๕-๓๐ เซนติเมตร เหนือผิวดิน หนาแน่นบริเวณโคนต้น
แสมดำ (Avicennia officinalis L.)
ชื่ออื่น : อาปี-อาปี (ปัตตานี)
เป็นไม้ียืนต้นขนาดกลาง - ใหญ่ สูง ๘-๒๕ เมตร เรือนยอดเป็นพุ่มหนา แตกกิ่งระดับต่ำ ไม่มีพูพอน เปลือกเรียบ หรือแตกเป็นร่องเล็กน้อย สีเทาถึงเทาอมน้ำตาล หรือน้ำตาลอมเขียว มีช่องอากาศตามลำต้น มีรากหายใจคล้ายดินสอ ยาว ๑๕-๒๕ เซนติเมตร เหนือผิวดิน
แสมทะเล (Avicennia marina (Forsk.) Vierh.)
ชื่ออื่น : ปีปีดำ (ภูเก็ต) ; แสมขาว, พีพีเล
เป็นไม้ขนาดเล็ก สูงประมาณ ๕-๘ เมตร มีลักษณะเป็นพุ่ม ส่วนใหญ่มีสองลำต้น หรือมากกว่า ไม่มีพูพอน เรือนยอดโปร่ง มีีรากหายใจรูปคล้ายดินสอ ยาว ๑๐-๒๐ เซนติเมตร เหนือผิวดิน เปลือกเรียบเป็นมัน สีขาวอมเทา หรือขาวอมชมพู ต้นที่อายุมากเปลือกจะหลุดออก เป็นเกล็ดบางๆ คคล้ายแผ่นกระดาษ และผิวของเปลือกใหม่จะมีสีเขียว
หงอนไก่ทะเล (Heritiera littoralis Ait.)
ชื่ออื่น : ไข่ควาย (กระบี่) ; ดุหุน (ตรัง) ; หงอนไก่ (กลาง, สุราษฎร์ธานี)
เป็นไม้ขนาดเล็ก - กลาง สูง ๕ - ๒๐ เมตร มีพูพอนน้อย ลำต้นมักบิด และคดงอ เปลือกสีน้ำตาล ถึงเทาเข้า หยาบเป็นเกล็ด มีรอยแตกเป็นร่องลึกตามยาว เนื้อไม้สีขาว
หยีน้ำ (Derris indica (Lamk.) Bennet
ชื่ออื่น : กายี, ราโยด (ใต้) ; ปากี้ (มลายู-สงขลา) ; หยีทะเล
หยีน้ำ เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก - กลาง สูง 5-15 เมตร เรือนยอดแผ่กว้าง ลำต้นมักคดงอ แตกกิ่งมาก เปลือกเรียบ สีเขียวแกมน้ำตาล ถึงน้ำตาลเทาคล้ำ
หลาวชะโอน (Oncosperma tigillarium (Jack) Ridl.
ชื่ออื่น : ชะโอน, นิบง (มลายู-นราธิวาส)
หลาวชะโอน เป็นพืชพวกปาล์ม แตกหน่อขึ้นชิดกันเป็นกอใหญ่ สูง 25-35 เมตร ลำต้นสีเทาหรือดำ
หลุมพอทะเล (Intsia bijuga (Colebr.) O. Ktze.
ชื่ออื่น : ประดู่ทะเล (กลาง) ; งือบาลาโอ๊ะ (มลายู-นราธิวาส)
เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ สูง 20-40 เมตร ผลัดใบ เรือนยอดแผ่กว้าง ลำต้นบางครั้งคดงอ เปลือกเรียบ สีเทาถึงเทาแกมชมพู เปลือกชั้นในสีส้มถึงส้มชมพู
หวายลิง (Flagellaria indica L.)
ชื่ออื่น : หวายเย็บจาก, หวายลี (ใต้)
เป็นไม้เลื้อย ลำต้นแข็งคล้ายหวาย เส้นผ่านศูนย์กลาง 0.3-0.8 ซม. แตกกิ่ง 3-5 เมตร หรือบางครั้งอาจยาวได้ถึง 10 เมตร ลำต้นมีสีเขียว แต่เมื่อแก่จะเปลี่ยนเป็นสีเทา ลำต้นเหนียวใช้ทำเชือกและเครื่องจักรสาน
เหงือกปลาหมอเครือ (Acanthus volubilis Wall.)
เป็นไม้เถา ลำต้นเลื้อย เรียว อ่อน ทุกส่วนไม่มีหนาม เถาสีเหลืองอ่อน
เหงือกปลาหมอดอกม่วง (Acanthus ilicifolius L.)
ชื่ออื่น : แก้มหมอ, แก้มหมอเล (กระบี่) ; นางเกร็ง, จะเกร็ง, อีเกร็ง (กลาง) ; เหงือกปลาหมอ, เหลือกปลาหมอน้ำเงิน (ทั่วไป)
เป็นไม้พุ่ม ลำต้นเลื้อยสูง 1-2 เมตร ไม่มีเนื้อไม้ ลำต้นเป็นโพรง ตั้งตรง และเมื่ออายุมากจะเอนนอน ลำต้นแก่จะแตกกิ่งออกไป มีรากค้ำจุน และมีรากอากาศจากลำต้นที่เอนนอน
ที่มาข้อมูล : หนังสือพันธุ์ไม้ป่าชายเลนในประเทศไทย(ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม) ของ สำนักอนุรักษ์ทรัพยากรป่าชายเลน กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พิมพ์ครั้งที่ ๔ ปี ๒๕๕๕
ภาพพันธุ์ไม้ทั้งหมดถ่ายและรวบรวมโดย นางวาสนา แซ่ฉั่ว ตำแหน่ง ผู้ช่วยนักวิจัย แอดมินเวปไซต์ ของสถานีพัฒนาทรัพยากรป่าชายเลนที่ 25 (อ่าวลึก)