วันที่ 22-24 สิงหาคม 2566 เจ้าหน้าที่กลุ่มสมุทรศาสตร์และสิ่งแวดล้อม ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งทะเลอันดามันตอนบน ได้ปฏิบัติงานภาคสนามเพื่อติดตามตรวจสอบคุณภาพน้ำทะเล และแพลงก์ตอนพืช บริเวณชายฝั่งรอบเกาะภูเก็ต จำนวน 28 สถานี โดยดำเนินการสำรวจ และเก็บตัวอย่างน้ำมันดิน (Tar ball) รวมทั้งสิ้น 7 สถานี ผลการตรวจวัดคุณภาพน้ำพื้นฐาน มีค่าดังนี้ อุณหภูมิน้ำ 29.9-32.9 องศาเซลเซียส ความเค็ม 25-32 พีพีที ค่าความเป็นกรด-ด่าง อยู่ในช่วง 7.96-8.32 และปริมาณออกซิเจนละลายในน้ำ 5.83-8.36 มิลลิกรัมต่อลิตร สภาพอากาศทั่วไป อากาศร้อนอบอ้าว คลื่นลมแรง และมีนักท่องเที่ยวจำนวนมาก ทั้งนี้ พบค่าออกซิเจนละลายอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพน้ำเพื่อการนันทนาการ ซึ่งจากการสำรวจพบก้อนน้ำมันดิน บริเวณหาดกะรน กะหลิม กมลา เลพัง ในยาง และหาดทรายแก้ว และยังพบปรากฏการณ์น้ำทะเลเปลี่ยนสีเป็นสีขียวอมเหลือง บริเวณชายหาดป่าตอง เบื้องต้นพบว่าแพลงก์ตอนที่เป็นสาเหตุของปรากฎการณ์น้ำทะเลเปลี่ยนสี ได้แก่ แพลงก์ตอนพืชกลุ่มไดอะตอม ส่วนปัจจัยอื่นๆ จะทำการวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการ และจะดำเนินการติดตาม และเฝ้าระวังการเกิดปรากฎการณ์น้ำทะเลเปลี่ยนสีต่อไป