ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอ่าวไทยตอนบนฝั่งตะวันออก ดำเนินการสำรวจติดตามคุณภาพน้ำทะเลชายฝั่งในพื้นที่จังหวัดชลบุรี ฉะเชิงเทรา สมุทรปราการ และกรุงเทพมหานคร จำนวน 24 สถานี เป็นประจำทุก 3 เดือน ประกอบด้วย 13 ปัจจัย ได้แก่
1. อุณหภูมิน้ำทะเล (Water Temperature) | 2. ความเป็นกรด-ด่าง (pH) |
3. ปริมาณสารแขวนลอยในน้ำทะเล (SS) | 4. ปริมาณออกซิเจนละลายในน้ำ (DO) |
5. แบคทีเรียกลุ่มโคลิฟอร์มทั้งหมดในน้ำทะเล (TCB) | 6. ฟอสเฟต (Phosphate) |
7. แอมโมเนีย (Ammonium) | 8. ไนเตรท (Nitrate) |
9. ไนไตรท์ (Nitrite) | 10. ซิลิเกต (Silicate) |
11. คลอโรฟิลล์ เอ (Chlorophyll a) | 12. ความเค็ม (Salinity) |
13. ความโปร่งใส (Transparency) |
งปัจจัยคุณภาพน้ำในข้อ 1. - 8. จะถูกนำมาใช้ในการคำนวณหาค่าดัชนีคุณภาพน้ำทะเลชายฝั่ง (Marine water quality index) เพื่อเป็นตัวบ่งบอกถึงสถานภาพของคุณภาพน้ำที่สถานีนั้น ๆ
จากการสำรวจของ ศวบอ. ในเดือนพฤษภาคม 2563 พบว่าน้ำทะเลชายฝั่งบริเวณสถานีเก็บตัวอย่างในพื้นที่อ่าวไทยตอนบนฝั่งตะวันออก ส่วนใหญ่อยู่ในสถานะดี ตามด้วยพอใช้ และเสื่อมโทรม ตามลำดับ ดัชนีคุณภาพน้ำโดยรวมทั้ง 4 จังหวัดอยู่ในสถานะพอใช้ พื้นที่ที่ควรเฝ้าระวัง คือปากแม่น้ำบางปะกง ซึ่งพบปริมาณแบคทีเรียรวมทั้งหมดสูง และออกซิเจนค่อนข้างต่ำ