วันที่ 14 –17 พฤศจิกายน 2565 เจ้าหน้าที่ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอ่าวไทยตอนบนฝั่งตะวันตก (ศวบต.) สำรวจสัตว์ทะเลหายากและใกล้สูญพันธุ์บริเวณจังหวัดสมุทรสาคร สมุทรสงคราม และเพชรบุรี พบสัตว์ทะเลหายาก 3 ชนิด คือ
1. โลมาอิรวดี (Irrawaddy dolphin: Orcaella brevirostris) พบแพร่กระจายอยู่บริเวณปากแม่น้ำท่าจีน ชายฝั่งทะเลจังหวัดสมุทรสาคร และบริเวณชายฝั่งทะเลบ้านแหลมจังหวัดเพชรบุรี
2. โลมาหัวบาตรหลังเรียบ (Finless porpoise : Neophocaena phocaenoides) พบแพร่กระจายอยู่แนวลึกของปากแม่น้ำท่าจีนชายฝั่งทะเลจังหวัดสมุทรสาคร
3. วาฬบรูด้า (Bryde’s whale : Balaenoptera edeni) จำนวน 12 ตัว บริเวณชายฝั่งทะเลจังหวัดสมุทรสาคร จากการตรวจสอบอัตลักษณ์ (Photo ID) เป็นตัวเดี่ยว จำนวน 2 ตัว ได้แก่ เจ้ามีทรัพย์ และเจ้าขวัญข้าว
เป็นคู่เเม่ลูก จำนวน 2 คู่ คือ
- แม่สาครกับเจ้าสาริน
- แม่วันดีกับเจ้าวันรุ่ง
- และวาฬไม่ทราบชื่อจำนวน 6 ตัว เป็นคู่แม่ลูกจำนวน 1 คู่
นายสัตวแพทย์ได้ตรวจสุขภาพวาฬบรูด้าจำนวน 8 ตัว โดยพบว่าวาฬบรูด้าทุกตัวมีอัตราการหายใจและคุณภาพการหายใจปกติ มีความสมบูรณ์ร่างกาย (Body Condition Score) อยู่ในเกณฑ์พอใช้-ดี พบรอยโรค Tattoo Skin disease like บนผิวหนัง ยกเว้นเจ้าวันรุ่ง และพบแผลถลอกที่ผิวหนังข้างลำตัวด้านขวาของเจ้ามีทรัพย์ ทั้งนี้ นายสัตวแพทย์จะติดตามสุขภาพของวาฬบรูด้าในอ่าวไทยตอนบนฝั่งตะวันตก ต่อไป